บังคับซื้อถุงพลาสติก คือทางรอดทะเลไทย

 

เมื่อต้นเดือนมิถุนายน .. 2561   

มีข่าวสร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนจำนวนมาก

คือข่าวการตายของวาฬนำร่องครีบสั้น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 

จากการผ่าท้องพบขยะพลาสติกน้ำหนักรวมกัน 8 กิโลกรัม

จำนวนกว่า 80 ชิ้น อัดแน่นเต็มท้อง

ข่าวนี้ สร้างความตื่นตัวให้กับผู้คนจำนวนมากสนใจที่จะแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก

รัฐบาล องค์กร ห้างร้านต่าง ดูเหมือนจะเริ่มสนใจขึ้นมา

ไม่น่าเชื่อว่า คนไทยทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลเป็นอันดับ 6 โลก

มากกว่าประชากรอินเดียที่มีประชากรนับพันล้านมากกว่าไทยเสียอีก

 

ช่วงแรกที่วาฬเสียชีวิต ก็มีข่าวว่า ทางการจะมีมาตรการจริงจังในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจัง

แต่ปีหนึ่งผ่านไป ก็เป็นแค่คลื่นกระทบฝั่ง ปริมาณขยะทะเลไม่ได้ลดลงมีแต่เพิ่มขึ้น

ปีพ.. 2562 ขยะทะเลได้เพิ่มทะลุ 1 ล้านตันต่อปีแล้ว

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562 

ข่าวการตายของมาเรียม พะยูนน้อย  อายุ 8 เดือน ขวัญใจของชาวไทย

โดยระบุว่าผลชันสูตรซากมาเรียม

พบว่าตายจากอาการช็อก

และมีเศษถุงพลาสติกที่กินเข้าไป

และไม่ย่อยสลายอุดตันขวางลำไส้

ก่อนหน้านี้เมื่อหลายเดือนก่อน

 มาเรียม ลูกพะยูนเพศเมีย  

ที่พลัดหลงแม่

ได้รับการเคลื่อนย้ายจากบ่อพักฟื้น

ที่จังหวัดภูเก็ต 

นำมาปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ

บริเวณหน้าหาดเกาะลิบง จังหวัดตรัง อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยหญ้าทะเล  

แต่มาเรียม ไม่สามารถหากินเองได้ 

ถูกพบว่ายมาเกยชายฝั่ง 

ได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์และอาสาสมัครมาหลายเดือน

แต่สุดท้ายก็ไม่รอดเช่นเดียวกับวาฬนำร่องครีบสั้นเมื่อปีกลาย

 

คนไทยใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยคนละ 8 ใบต่อวัน

ขณะที่คนยุโรปใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยคนละ 3 ใบต่อวัน

นั้นหมายความว่า

วันหนึ่งเราผลิตขยะถุงพลาสติกร่วม

500 ล้านชิ้น 

นับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจมาก

หากรวมกับพลาสติกชนิดอื่น

คนไทยทิ้งขยะลงทะเลวันละกว่า 750ล้านชิ้น

หากถามว่า

ทำไมคนใช้ขยะพลาสติกกันมากมายขนาดนี้

คำตอบคือ ความสะดวกสบาย

ก่อนหน้าที่ถุงหิ้วพลาสติก

หรือถุงก๊อบแก๊บจะได้รับความนิยม 

ทุกครั้งที่ไปจ่ายกับข้าวในตลาด

แม่บ้านทั่วโลกจะต้องถือตะกร้าออกจากบ้านเสมอ 

สมัยนั้นสังคมโลกจึงไม่มีปัญหาเรื่องขยะพลาสติกล้นโลก  

จนกระทั่งมีการผลิตถุงพลาสติกขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก

ความสะดวกสบายจึงมาพร้อมกับขยะ

ขยะพลาสติกที่พบในทะเลส่วนใหญ่

พบว่าเป็นถุงพลาสติก ร้อยละ 11.7

กล่องโฟม ร้อยละ 9.9 ห่ออาหาร

ร้อยละ 8.8

ถุงก๊อปแก๊ป ร้อยละ 8.6  ขวดแก้ว

ร้อยละ 7.5

ขวดพลาสติก ร้อยละ 7.2    

หลอดดูด ร้อยละ  5.1

ขยะทะเลส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยวริมชายหาดที่ไม่มีการทิ้งขยะให้เป็นที่

ร้านอาหารบริเวณชายหาด

ริมแม่น้ำที่ทิ้งขยะลงแม่น้ำ

และการฝังกลบที่ไม่ถูกวิธี

 

ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามขอความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ 

รวมถึงมีการรณรงค์งดการใช้ถุงพลาสติกหลายรูปแบบ

แต่ดูเหมือนจะไม่สามารถบรรเทาปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน 

ล่าสุดภาพถ่ายดาวเทียมสามารถจับภาพขยะพลาสติกในมหาสมุทรแปซิฟิก

ที่ลอยติดกันเป็นแพขนาดยักษ์มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศส สเปน เยอรมนีรวมกันเสียอีก

 

สุดท้ายการลดขยะพลาสติกที่ได้ผลที่สุด 

คือการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังมากกว่า

หลายประเทศได้ออกกฎหมายยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจัง

บังกลาเทศเป็นประเทศแรกของโลกที่แบนถุงพลาสติก จากปัญหาน้ำท่วมใหญ่หลายครั้ง มีคนตายมากมาย 

เพราะถุงพลาสติกไปอุดตันในท่อระบายน้ำ คูคลอง น้ำระบายไม่ทัน 

เช่นเดียวกับหลายรัฐในอินเดียที่ห้ามการใช้ถุงพลาสติก เพราะปัญหาน้ำท่วม

ทางการเคนยาเริ่มบังคับใช้กฎหมายที่ห้ามการใช้ถุงพลาสติกแล้ว หากผู้ใดจำหน่าย ผลิต หรือใช้ถุงพลาสติก

จะต้องเผชิญโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับเงินสูงสุด 38,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.25 ล้านบาท)

อีกหลายประเทศ ใช้การเก็บภาษีถุงพลาสติกแทน ทำให้ถุงมีราคาแพง 

อาทิประเทศ ไอร์แลนด์ ผลคือ ลดการใช้ถุงพลาสติกลงถึง 90 % จาก 1,200 ล้านใบ เหลือเพียง 200 ล้านใบ

ล่าสุดฝรั่งเศสจะเป็นชาติแรกในโลกที่ออกกฏหมายห้ามใช้ภาชนะที่ทำจากพลาสติกใส่อาหาร 

ไม่ว่าจะเป็นจาน ถ้วย หรือเครื่องครัวทุกชนิด โดยจะมีผลบังคับใช้ภายในในปี 2020 

สำหรับเมืองไทย  

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมแนะนำว่า

อันดับแรก รัฐบาลควรประกาศให้การแก้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติ

โดยการออกกฎหมายบังคับเลิกการใช้โฟม

เพราะเป็นวัสดุที่ใช้เวลาหลายร้อยปีกว่าจะย่อยสลายได้

และต้องออกกฎหมายบังคับ

ให้ผู้บริโภค ต้องซื้อถุงพลาสติก

เพื่อลดปริมาณขยะ

วิธีนี้ประสบความสำเร็จในประเทศอังกฤษ ไต้หวัน และนิวซีแลนด์ ที่สามารถลดปริมาณขยะได้มาก 

ถึงวันนี้ แค่รณรงค์หรือขอความร่วมมือในการไม่ใช้ถุงพลาสติก  

คงจะตามไม่ทันปริมาณขยะทะเลที่เพิ่มขึ้นทุกปี

นอกจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 

แน่นอนว่า

จะต้องถูกชาวบ้านที่ไม่เข้าใจวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง 

แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะกล้าตัดสินใจไหม

หรือจะรอให้มีพะยูน วาฬ

สัตว์ทะเลชนิดอื่นเป็นเหยื่อไปเรื่อยๆ