SLAPP การฟ้องปิดปากกรณีข่าวสิ่งแวดล้อม

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2566  ดร.เพชร มโนปวิตร เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว ผู้เชี่ยวชาญระบบนิเวศทางทะเล ถูกบริษัทจำหน่ายอาหารสัตว์ยื่นฟ้องคดีอาญาในข้อหาหมิ่นประมาท เมื่อออกมาแสดงความเห็นการทำลายชีวิตปลาฉลาม

ก่อนหน้านี้ มีบริษัทรายหนี่งได้มีการนำเอาปลาฉลาม มาแปรรูปทำเป็นอาหารสัตว์ให้แก่หมาและแมว มีการโฆษณาเป็นคลิปวิดีโอทางสื่อออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย โดยในคลิปวิดีโอดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นฉลามชนิดใด นำมาจากที่ใด  ดร.เพชร ได้ออกมาแสดงความเห็นต่อประเด็นนี้ในเพจ ReReef อันเป็นเพจด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเล เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565  มีใจความว่า

Continue reading “SLAPP การฟ้องปิดปากกรณีข่าวสิ่งแวดล้อม”

บทเรียนจากสิงคโปร์กับการแก้ปัญหาหมอกควันพิษ

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

หน้าแล้งปีนี้ปัญหาหมอกควันพิษและ PM2.5 เกินมาตรฐาน ได้กลับมาหลอกหลอนคนไทยเกือบทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง จนประเทศไทยติดอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีมลพิษทางอากาศร้ายแรงที่สุดในโลกเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว

Continue reading “บทเรียนจากสิงคโปร์กับการแก้ปัญหาหมอกควันพิษ”

กินชาบูสะเทือนถึงหมอกควันพิษ

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์  

ขณะที่กำลังเขียนต้นฉบับนี้ จังหวัดเชียงใหม่ และหลายพื้นที่ในภาคเหนือ กำลังผจญกับปัญหาหมอกควันพิษอย่างรุนแรง

และกำลังไต่อันดับขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ของเมืองที่มีปัญหาหมอกควันพิษมากที่สุดในโลก

ปัญหาหมอกควันพิษในประเทศไทยเกิดมานานแล้ว แต่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างรุนแรงประมาณสิบปีที่ผ่านมา

แต่ละภูมิภาคก็มีสาเหตุของการเกิดหมอกควันพิษแตกต่างกันไป

Continue reading “กินชาบูสะเทือนถึงหมอกควันพิษ”

จากสนามทิ้งลูกระเบิดกลายเป็นป่าสมบูรณ์

เมื่อประมาณ ห้าสิบปีก่อน สมัยสงครามเวียดนาม รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ส่งทหารห้าแสนคนเข้าช่วยรัฐบาลเวียดนามใต้สู้รบกับกองทัพเวียดนามเหนือ  รัฐบาลไทยในเวลานั้นได้อนุญาตให้ทางกองทัพสหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในดินแดนไทย เพื่อเป็นฐานใหญ่ในการส่งกำลังสนับสนุนการทำสงครามเวียดนาม และลาว

สนามบินที่ทหารอเมริกันมาใช้เป็นฐานปฏิบัติการ ประกอบด้วย สนามบินดอนเมือง สนามบินอู่ตะเภา สนามบิน อุบลฯ สนามบินตาคลี นครสวรรค์ สนามบินโคราช สนามบินนครพนม และสนามบินอุดร

ประมาณการว่าเครื่องบินราว 600 เครื่องที่กระจายอยู่ตามฐานทัพเหล่านี้ มีภารกิจเกือบทั้งหมดคือทิ้งระเบิดในเวียดนามเหนือและลาว นับเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารที่ใหญ่กว่าฐานสหรัฐในเวียดนามใต้เสียอีก จนมีการเปรียบเปรยว่าในเวลานั้น ไทยกลายเป็น “เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจมของกองทัพสหรัฐ”

Continue reading จากสนามทิ้งลูกระเบิดกลายเป็นป่าสมบูรณ์

ทำไมอาหารเหนือจึงไม่ค่อยได้รับความนิยม

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์

ภาพประกอบ The Momentum

เมื่อไม่นานมานี้ ข้าวซอย อาหารไทย ได้รับการคัดเลือกจากเว็บไซต์ TasteAtlas จัดอันดับ 50 Best Soups ซุปที่ดีที่สุดจากนักวิจารณ์อาหารทั่วโลก ผลการจัดอันดับพบว่า เมนู “ข้าวซอย” ของประเทศไทยคว้าอันดับ 1

ข้าวซอยเป็นอาหารพื้นเมืองของทางภาคเหนือ  เดิมเรียกว่า “ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ” มีต้นกำเนิดจากชาวจีนมุสลิม หรือจีนฮ่อ ที่อพยพมาจากมณฑลยูนนาน  เป็นบะหมี่น้ำที่ใส่เครื่องแกง พริกน้ำมัน กะทิ  รสชาติจัดจ้าน เป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่ว ชาวไทยรู้จักดี

เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้อาหารทางภาคเหนือจะชื่อดังไประดับโลก เทียบเท่ากับอาหารไทยชื่อดังชนิดอื่นที่ต่างชาติรู้จักกันดี อาทิ ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ แกงมัสมั่น ผัดไทย ฯลฯ  แต่โดยทั่วไปแล้ว หากเปรียบเทียบกับอาหารภาคอื่น ไม่ว่าจะเป็นอาหารปักษ์ใต้ อาหารอีสาน อาหารภาคกลาง  ดูเหมือนอาหารภาคเหนือจะได้รับความนิยมน้อยกว่า

Continue reading “ทำไมอาหารเหนือจึงไม่ค่อยได้รับความนิยม”

อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด กับความย้อนแย้งของประธานมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อห้าจังหวัด

ชื่อของมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อห้าจังหวัด เป็นที่รู้จักกันดีในรอบหลายปีที่ผ่านมา  เพราะมีรองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐเป็นประธานมูลนิธิ คือ  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

และอีกด้านหนึ่งที่ทำการของมูลนิธิแห่งนี้คือกองบัญชาการใหญ่ของนักการเมืองผู้กว้างขวางรายนี้

Continue reading อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด กับความย้อนแย้งของประธานมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อห้าจังหวัด

ครองอำนาจแต่ไม่ครองใจ

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์

เป็นเวลาแปดปีแล้ว ที่บรรดาฝ่ายขวา ฝ่ายอนุรักษ์นิยม และทหารบางกลุ่มได้จับมือกัน  โดยมีเป้าหมายในการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โค่นล้มรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มาจากการเลือกตั้ง และหลังจากนั้นแม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไป และพรรคของฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็ใช้เล่ห์เหลี่ยมทุกวิถีทาง  ตั้งแต่ การแก้กฎหมาย การออกแบบการเลือกวุฒิสมาชิก 250 คน และแม้ผลการเลือกตั้งฝ่ายตรงกันข้ามมีเสียงเป็นอันดับหนึ่ง ก็ยังใช้กติกาที่คนของตัวเอง จัดการให้เกิด บัตรเขย่ง การให้ใบเหลือง ใบแดง ไปจนถึงการยุบพรรคการเมือง

ในที่สุดฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และครองอำนาจมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ข้าราชการเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน

 แต่เคยสงสัยไหมว่า ฝ่ายอนุรักษ์ฯที่ยึดประเทศครองอำนาจมานับสิบปี ทำไมถึงไม่สามารถครองใจประชาชนได้เลย และนับวันจำนวนแนวร่วมฝ่ายอนุรักษ์ฯ ก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ

Continue reading “ครองอำนาจแต่ไม่ครองใจ”

คราฟท์เบียร์และความเหลื่อมล้ำ

เรื่อง วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

“พี่สนใจทำเบียร์กุหลาบไหม”

เพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่ง ผู้หลงใหลการทำ คราฟท์เบียร์ เอ่ยปากถามผู้เขียน  และฝันสักวันหนึ่งจะมีโอกาสผลิตคราฟท์เบียร์อย่างถูกต้องตามกฎหมายเมืองไทย

คราฟท์เบียร์ คือการผลิตเบียร์แบบโฮมเมดรายเล็กที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผู้ผลิตต้องใช้ฝีมือความคิดสร้างสรรค์ในการปรุงรสเบียร์ให้มีความหลากหลายของรสชาติ และที่สำคัญแต่งกลิ่นตามธรรมชาติ ห้ามใช้สารเคมีมาแต่งกลิ่นเด็ดขาด

Continue reading คราฟท์เบียร์และความเหลื่อมล้ำ

อดีตของมาบตาพุดคืออนาคตของจะนะ

พลันเมื่อฝ่ายรัฐบาลได้สั่งสลายการชุมนุมชาวบ้านที่มาทวงสัญญานิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา เรื่องราวการต่อสู้ของชาวบ้านก็กลับมาอยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่งทันที

ในปี 2559 รัฐบาลคสช. ได้อนุมัติ อนุมัติโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมอบอำนาจให้ ศอ.บต. เป็นผู้ดำเนินการ อันเป็นต้นกำเนิดของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้  บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอำเภอจะนะ จำนวน 16,753 ไร่  รองรับอุตสาหกรรมหนักและผลิตไฟฟ้า 

เช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดในอดีตที่ผ่านมา คือไม่ได้ลงไปพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ก่อนว่าคิดเห็นอย่างไร

แต่ใช้อำนาจจากส่วนกลางสั่งการลงมา

Continue reading “อดีตของมาบตาพุดคืออนาคตของจะนะ”

ความย้อนแย้งของคำพูดผู้นำประเทศ

ภาพ : PPTVHD36

                     “ผมขอย้ำว่าเราทุกคนไม่มี ‘แผนสอง’ ในเรื่องของการรักษาเยียวยาสภาพภูมิอากาศ เพราะเราจะไม่มี ‘โลกที่สอง’ ซึ่งเป็นบ้านของพวกเราเหมือนโลกนี้อีกแล้ว”

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสุนทรพจน์กลางที่ประชุม COP26 เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

เป็นการยืนยันว่าประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือปัญหาโลกร้อน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการตัดไม้ทำลายป่า

Continue reading “ความย้อนแย้งของคำพูดผู้นำประเทศ”

ถึงเวลาทบทวนฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์

สมัยเป็นนักศึกษา ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ มาตลอดสี่ปี ในฐานะสมาชิกฝ่ายโค้ตแปรอักษร ของชุมชนเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังคงติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของฟุตบอลที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่งมาตลอด

ประวัติฟุตบอลประเพณีอันเก่าแก่นี้เริ่มครั้งแรก ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 แต่ละมหาวิทยาลัยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันทุกปี ชื่อของมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพจะได้รับเกียรติให้ขึ้นต้นชื่องานฟุตบอลประเพณีในปีนั้น

Continue reading “ถึงเวลาทบทวนฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์”

ความตกต่ำของภาพลักษณ์ของทหาร

เครดิตภาพ เนชั่นสุดสัปดาห์

พลันที่จดหมายลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 จากกองพิธีการ กรมสารบรรณทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ส่งไปถึงสภากาชาดไทย เรื่อง ขอรับการสนับสนุนวัคซีน “โมเดอร์นา” (Moderna) ให้กับกำลังพลและครอบครัว ถูกเปิดเผยออกมาในโลกออนไลน์  เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ดังกระหึ่มภายในเวลาไม่นาน

ตอนแรก หลายคนคิดว่าเป็น fake news แต่สุดท้ายเมื่อมีการตรวจสอบ ทางการก็ยอมรับว่า “ ไม่ใช่เอกสารปลอม แต่ไม่ใช่เอกสารทางการ “  เพราะผู้ส่งไม่มีอำนาจหน้าที่ส่งหนังสือไปส่วนราชการภายนอก

“ไม่ใช่เอกสารปลอม แต่ไม่ใช่เอกสารทางการ”  กลายเป็นไวรัล ไม่ต่างจากคำว่า “ไม่ใช่น้ำท่วม แต่เป็นน้ำรอระบาย”

Continue reading “ความตกต่ำของภาพลักษณ์ของทหาร”