เยี่ยมบ้านเกิดปีกัสโซ

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์

“จิตรกรคนอื่นอาจประสบความสำเร็จด้วยการดัดแปลงตัวเองให้เขากับสังคม  ทั้งทรยศกับสิ่งที่ตัวเองได้เริ่มไว้  แต่ปีกัสโซไม่ได้ทำอย่างนั้น  เขาเชื้อเชิญความสำเร็จเข้ามาหาทีละน้อย ขณะที่แวนโก๊ะเชื้อเชิญความล้มเหลว นำทางไปสู่ความสำเร็จในภายหลัง ทั้งสองคนนี้เหมือนกันและต่างกัน  เหมือนกันในแง่ความสำเร็จทางศิลปะ นำมาซึ่งแบบฉบับของศิลปินแห่งยุคสมัยของเรา”

จอห์น เบอร์เกอร์ นักวิจารณ์ศิลปะ กล่าวถึงความสำเร็จของปีกัสโซในปี 1921

Continue reading “เยี่ยมบ้านเกิดปีกัสโซ”

ป่าบุญเรือง ป่าชาวบ้านระดับโลก

เรื่อง :วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์

ภาพ :อนุรักษ์ป่าชุ่มน้ำบุญเรือง 

เชียงของ  เป็นอำเภอในจังหวัดเชียงราย อยู่ติดแม่น้ำโขง

 ผู้เขียนเคยเห็นปลาบึกตัวขนาดหลายร้อยกิโลกรัมเป็นครั้งแรกในชีวิตเมื่อร่วมยี่สิบปี  ก่อนที่เขื่อนในประเทศจีนที่กั้นแม่น้ำโขงจะสร้างเสร็จ และตามมาด้วยการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในประเทศลาว จนเป็นอุปสรรคสำคัญในการแพร่พันธุ์ปลาขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง  เพราะการไหลของแม่น้ำโขงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ จากเขื่อนปิดกั้นการเดินทางของปลาบึกที่จะว่ายทวนน้ำขึ้นมาวางไข่  

ผมจำได้ว่า ปีนั้นชาวบ้านจับปลาบึกยักษ์ที่ว่ายทวนน้ำขึ้นมาวางไข่ได้ยี่สิบกว่าตัว หลังจากนั้น ปริมาณการจับปลาบึกก็ลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนทุกวันนี้คนสองฝั่งแม่น้ำแทบจะไม่เห็นปลาบึกในธรรมชาติอีกเลย

Continue reading “ป่าบุญเรือง ป่าชาวบ้านระดับโลก”

จากครูเปาะสูถึงชาวบ้านนักอนุรักษ์

 วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  

หากเรารู้จัก จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชน ผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ถูกจับติดคุกเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะตัดสินใจหนีเข้าป่าทางภาคอีสาน จับอาวุธต่อสู้กับฝ่ายอำนาจรัฐ จนเสียชีวิตในราวป่าเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน และกลายเป็นวีบุรุษของประชาชนผู้โหยหาสิทธิเสรีภาพมาตลอด

ครูเปาะสู ก็เป็นวีรบุรุษของชาวไทยมุสลิมสามจังหวัดภาคใต้เช่นกัน

Continue reading “จากครูเปาะสูถึงชาวบ้านนักอนุรักษ์”

พ่อไม่เคยลืมสัญญา

 วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ 

เมื่อ 70 กว่าปีก่อน พ่อของผู้เขียนหนีภัยคอมมิวนิสต์มาจากจีนแผ่นดินใหญ่

คุณพ่อและคุณแม่เป็นคนจีน เกิดในประเทศจีน

ทั้งคู่เป็นลูกจีนแต้จิ๋ว

บ้านเกิดของแม่อยู่ที่เมืองซัวเถา และบ้านเกิดของพ่ออยู่ในอำเภอเถ่งไห้ เมืองแต้จิ๋ว ที่อยู่ติดกัน

แม่เล่าให้ฟังว่า อาม่าหรือคุณยายอุ้มแม่ตั้งแต่เป็นเด็กทารกนั่งเรือออกมาจากเมืองซัวเถาของชาวจีนแต้จิ๋ว อพยพมาอยู่เมืองไทย

ขณะที่พ่ออพยพมาเมืองไทยเมื่ออายุได้ประมาณ 23 ปี ตอนนั้นสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลก๊กมินตั๋งของประธานาธิบดีเจียง ไคเช็ก และพรรคคอมมิวนิสต์ของประธานเหมา เจ๋อ ตง กำลังงวดเข้ามาทุกทีแล้ว แต่ความอดอยากแผ่กระจายไปทั่วเมืองจีน พ่อเห็นว่าหากอยู่เมืองจีนคงต้องอดอยากแน่นอน เพราะมีพี่น้องถึง 10 คน จึงตัดสินใจหนีปู่หรืออากงมาเผชิญโชคที่เมืองไทย

Continue reading “พ่อไม่เคยลืมสัญญา”

ทำอาชีพอิสระได้อะไรบ้าง

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

ผู้เขียนเคยทำงานประจำมาเป็นเวลา 30 กว่าปี เริ่มจากเป็นพนักงานระดับปฏิบัติงานจนเวลาต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารองค์กรหลายแห่ง จากที่เคยรับผิดชอบกับงานในหน้าที่อย่างเดียวก็ค่อยๆ รับผิดชอบกับงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน รวมถึงดูแลผู้ใต้บังคับบัญชานับร้อยคน

ไม่รวมถึงตำแหน่งหน้าที่ในสังคมที่ต้องเป็นกรรมการองค์กรต่างๆ ทั้งสถาบัน สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ ทั้งโดยตำแหน่งจากหน้าที่การงาน และมีผู้คนมาเชื้อเชิญให้เป็นกรรมการ

4 ปีที่ผ่านมา หลังจากเก็บเงินได้พอสมควร ผู้เขียนได้ลาออกจากงานประจำเพื่อมาทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ เป็นนายของตัวเอง ไม่ต้องมีเวลาเข้าที่ทำงาน ไม่ต้องมีเวลาเลิกงาน และไม่ต้องถูกกำหนดโดยระเบียบต่างๆ ขององค์การที่ทำงานด้วย 

ตำแหน่งหน้าที่ในสังคมก็ค่อยๆ ลาออก หากไม่สนใจจริงๆ 

Continue reading “ทำอาชีพอิสระได้อะไรบ้าง”

มหัศจรรย์สีธรรมชาติจากฟางข้าว

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

“Colors are the smiles of Nature”

Leigh Hunt

ในโลกของผู้หลงใหลศิลปะ จะทราบดีว่า สีจากธรรมชาติหลายอย่างสามารถนำมาทดแทนสีจากเคมีได้

อาทิ สีน้ำตาล สีเทา สีน้ำตาลเข้ม สกัดมาจากดินชนิดต่าง ๆ ที่มีสีไม่เหมือนกัน

แต่สีจากธรรมชาติส่วนใหญ่ได้มาจากสีของดอกไม้ ผลไม้ ใบไม้ เปลือกไม้นานาชนิด อาทิ

 ดอกคำฝอย ขมิ้นชันจะให้สีเหลือง สีส้ม สีแดงอมส้ม  ดอกอัญชัญจะให้ สีน้ำเงิน

ดอกกระเจี๊ยบให้สีแดง เมล็ดคำแสดให้สีแสดหรือสีส้มอมแดง

เปลือกเพกาให้ได้ทั้งโทนสีเขียว-เหลือง ฝักของต้นราชพฤกษ์หรือคูณ ให้สีส้มอ่อนอมเทา

แต่ใครจะคิดว่า ฟางข้าวที่แทบจะไม่มีประโยชน์ ก็สามารถมาทำสีจากธรรมชาติได้เช่นกัน

Continue reading มหัศจรรย์สีธรรมชาติจากฟางข้าว

จากสนามทิ้งลูกระเบิดกลายเป็นป่าสมบูรณ์

เมื่อประมาณ ห้าสิบปีก่อน สมัยสงครามเวียดนาม รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ส่งทหารห้าแสนคนเข้าช่วยรัฐบาลเวียดนามใต้สู้รบกับกองทัพเวียดนามเหนือ  รัฐบาลไทยในเวลานั้นได้อนุญาตให้ทางกองทัพสหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในดินแดนไทย เพื่อเป็นฐานใหญ่ในการส่งกำลังสนับสนุนการทำสงครามเวียดนาม และลาว

สนามบินที่ทหารอเมริกันมาใช้เป็นฐานปฏิบัติการ ประกอบด้วย สนามบินดอนเมือง สนามบินอู่ตะเภา สนามบิน อุบลฯ สนามบินตาคลี นครสวรรค์ สนามบินโคราช สนามบินนครพนม และสนามบินอุดร

ประมาณการว่าเครื่องบินราว 600 เครื่องที่กระจายอยู่ตามฐานทัพเหล่านี้ มีภารกิจเกือบทั้งหมดคือทิ้งระเบิดในเวียดนามเหนือและลาว นับเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารที่ใหญ่กว่าฐานสหรัฐในเวียดนามใต้เสียอีก จนมีการเปรียบเปรยว่าในเวลานั้น ไทยกลายเป็น “เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจมของกองทัพสหรัฐ”

Continue reading จากสนามทิ้งลูกระเบิดกลายเป็นป่าสมบูรณ์

จะเลือกป่าชายเลนหรือท่าเรือยอร์ช 

เป็นที่ทราบกันดีว่า พื้นที่ติดริมฝั่งทะเล ไม่ว่าจะเป็นชายหาดหรือป่าชายเลนบนจังหวัดภูเก็ต หากไม่ใช่พื้นที่อุทยาน  ทุกวันนี้แทบจะไม่ได้เป็นที่ดินของชาวบ้านอีกต่อไป แต่ถูกเปลี่ยนมือเป็นของนายทุนจากข้างนอก หรือ ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นไปแล้ว

ที่ดินผืนงาม ๆติดทะเล ส่วนใหญ่จึงเป็นที่ก่อสร้างโรงแรม รีสอร์ตหรู คอนโดมิเนียม ท่าเทียบเรือยอร์ช หรือบ้านจัดสรรสำหรับบรรดามหาเศรษฐีผู้มีอันจะกิน

แต่บนเกาะภูเก็ต ยังมีผืนดินติดทะเลไม่กี่แห่งที่ชาวบ้านยังช่วยกันปกป้องรักษาให้เป็นที่สาธารณะประโยชน์

 ไม่น่าเชื่อว่าที่บริเวณบ้านอ่าวกุ้ง ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง มีป่าชายเลนผืนใหญ่ที่ชาวบ้านชุมชนชาวมุสลิมช่วยกันปกป้องรักษาถึงห้าร้อยกว่าไร่ ต่อสู้กับนายทุนผู้บุกรุกเป็นนากุ้งในอดีตให้กลับมีสภาพเป็นป่าชายเลน

Continue reading จะเลือกป่าชายเลนหรือท่าเรือยอร์ช 

ความแตกต่างระหว่าง leader กับ commander

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์

ในรอบแปดปีที่ผ่านมา ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16:30 น. โดยกองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในนามของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารโค่นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  ดูเหมือนโอกาสที่จะมีผู้นำทางการเมืองคนอื่นขึ้นมาเปรียบเทียบการทำงานกับพลเอกประยุทธ์ แทบเป็นไปไม่ได้เลย

จนกระทั่งการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่ผ่านมา เมื่อคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้มีภาพลักษณ์เป็น อินเทอร์เน็ตมีม ในฐานะ “รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี” ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงแบบถล่มทลายมาเป็นอันดับ 1 คือ 1,386,215 คะแนน สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่ากทม.

คนหนึ่งเดินหาเสียงทุกวัน ให้ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาอย่างสง่างามในตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร  ขณะที่อีกคนหนึ่งมาจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจ และสุดท้ายก็เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องเดินตามท้องถนน ลงสมัครรับเลือกตั้งให้ชาวบ้านเลือก แต่มาด้วยคะแนนเสียงจากสว. 250 เสียงที่พรรคพวกตัวเองเป็นคนแต่งตั้งกันเข้ามาในสภา

เพียงแค่ระยะเวลาไม่ถึงเดือน คุณชัชชาติมาพร้อมกับภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำแบบใหม่ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากผู้นำอีกคนหนึ่งที่อยู่มายาวนานถึงแปดปี

Continue reading “ความแตกต่างระหว่าง leader กับ commander”

Silent Spring หนังสือสะเทือนโลก

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

ใครจะเชื่อว่า หนังสือเล็ก ๆเล่มหนึ่ง สามารถเปลี่ยนโลกได้

ปี 2022 เป็นวาระครบรอบหกสิบปี ที่หนังสือ Silent Spring หรือ “ฤดูใบไม้ผลิอันเงียบงัน” ผู้แต่งคือ Rachel Carson สุภาพสตรีชาวอเมริกัน ได้ตีพิมพ์ออกจำหน่ายในปี 1962

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีหนังสือไม่กี่เล่มที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ และ Silent Spring คือหนึ่งในหนังสือไม่กี่เล่ม ที่เปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง ให้ตระหนักถึงพิษภัยของยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ดีดีที

Continue reading “Silent Spring หนังสือสะเทือนโลก”

จากการถล่มปิดล้อมเลนินกราด ถึงสมรภูมิเคียฟ

หลายปีก่อน ผู้เขียนมีโอกาสไปเยือนกรุงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย  อดีตเมืองหลวงเก่า และเป็นบ้านเกิดของวลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน ประธานาธิบดีผู้ปกครองประเทศมายาวนานร่วมยี่สิบปี

นครแห่งนี้สร้างโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช เคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1713-1918 และภายหลังจากการปฎิวัติรัสเซียในปีค.ศ. 1917 พรรคบอลเชวิคได้ย้ายเมืองหลวงไปที่กรุงมอสโก  และได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เลนินกราด เพื่อรำลึกถึงนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ผู้สามารถโค่นล้มพระเจ้าซาร์ลงได้สำเร็จ ก่อนจะเปลี่ยนกลับมาเป็นชื่อเดิมเมื่อไม่นานมานี้

Continue reading “จากการถล่มปิดล้อมเลนินกราด ถึงสมรภูมิเคียฟ”

เดินป่ากับนางสิงห์เฝ้าป่า วัย 91 รตยา จันทรเทียร

“หัวใจอยากเดินต่อ แต่ขาเตือนสติว่าพอแล้ว”

ไม่แปลกใจนัก หากคำพูดนี้มาจากคนทั่วไปที่กำลังเหนื่อยล้าจากการเดินทางไกล

แต่บนความสูงในระดับพันกว่าเมตร กลางดงป่าสน ระหว่างทางสู่ยอดดอยหลวงเชียงดาว  อาจารย์รตยา จันทรเทียรในวัย 91 บอกกับผู้เขียนและคณะที่ร่วมเดินทางมาให้กำลังใจ

ใครจะคิดว่า จะมีผู้ใหญ่วัยเกือบร้อย หัวใจแกร่งมาเดินขึ้นภูเขาสูงอันดับสามของประเทศ

……………..

Continue reading “เดินป่ากับนางสิงห์เฝ้าป่า วัย 91 รตยา จันทรเทียร”