เปลี่ยนกระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นหัวหอกของ Soft Power

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับการสถาปนาครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2495 เพื่อกระตุ้นให้คนในประเทศเกิดความรู้สึกชาตินิยมและปฏิบัติตนตามแนวนโยบายของรัฐ  โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วย

พอจอมพลป. พิบูลสงครามสิ้นอำนาจ กระทรวงแห่งนี้ก็ถูกยุบไปด้วยในปี 2501

จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2545 จึงมีการจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา   กระทรวงแห่งนี้ถูกจัดเป็นกระทรวงเกรด c

 ในสายตาของนักการเมืองส่วนใหญ่ที่ผ่านมา กระทรวงนี้กลายเป็นกระทรวงปัดเศษเหลือ ที่ไม่ค่อยมีพรรคการเมืองใดสนใจจับจองเป็นกระทรวงแรก ๆ

Continue reading “เปลี่ยนกระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นหัวหอกของ Soft Power”

ทำไมเด็กไทยขาดจินตนาการ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

อ่านข่าว แบบเรียนภาษาพาที ระดับชั้น ป.5 ถึงโภชนาการของเด็ก โดยมีเนื้อหาว่า กินไข่ต้มครึ่งซีก เหยาะน้ำปลา หรือข้าวเปล่าคลุกข้าวผัด ผักบุ้ง ทำให้ตัวละครในหนังสือ มีความสุข ถือเป็นความพอเพียง จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปสนั่นเมือง ทำให้นึกถึงการปฏิรูปการศึกษาของไทย

ตั้งแต่ผู้เขียนจำความได้ สังคมไทยพูดถึงการปฏิรูปการศึกษามาไม่ต่ำกว่า 50 ปี ตั้งแต่เปลี่ยนระบบการศึกษาจาก ป.1-7 ,มศ.1-5 เปลี่ยนมาเป็น ป1-6 ,ม.1-6  เปลี่ยนหลักสูตรการศึกษามาหลายครั้ง  เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารมานับครั้งไม่ถ้วน

แต่คุณภาพเด็กไทยนับวันจะถอยหลังลงเรื่อย ๆ

Continue reading “ทำไมเด็กไทยขาดจินตนาการ”

ขุดสระบนดอยสู้ไฟป่า

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

พอย่างเข้าหน้าแล้งของทุกปี ไฟป่าและหมอกควันพิษทำให้ผู้คนทางภาคเหนือต้องทนทุกข์ทรมาน เสี่ยงอันตรายจากการสูดอากาศที่เต็มไปด้วย pm2.5

ขณะที่กำลังเขียนต้นฉบับ มีชาวบ้านจำนวนมากอาสาเดินขึ้นเขาบุกเข้าไปดับไฟป่าเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว 

หนึ่งในผู้คนเหล่านี้คือ เยาวชนแห่งบ้านดอยช้างป่าแป๋ หมู่บ้านปกาเกอะญอเก่าแก่แห่งอำเภอบ้านโฮ่ง ก่อตั้งมาร่วมสองร้อยปี ที่รวมกลุ่มกันขึ้นไปดับไฟป่าบนเขา ด้วยวิธีคิดและนวัตกรรมการดับไฟแบบใหม่ที่น่าสนใจ

Continue reading “ขุดสระบนดอยสู้ไฟป่า”

ทำไมโอมากาเสะ ติดอันดับอาหารฮิต

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ 

เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อนคนหนึ่งเอ่ยปากชวนไปเลี้ยงกินอาหารญี่ปุ่นแบบ โอมากาเสะเป็นครั้งแรก ย่านซอยชื่อดังแถวถนนสุขุมวิท

ร้านอาหารมีขนาดไม่ใหญ่โต มีโต๊ะไม่กี่ตัว แต่ดูหรูหราตามลักษณะร้านแบบโอมากาเสะ

 เรานั่งกินตรงเคาเตอร์บาร์หน้าเชฟญี่ปุ่นผู้กำลังปรุงซูชิอย่างพิถีพิถัน

ด้านหน้ามีของสด ปลา ผักสด เครื่องเคียงหลายชนิด วางเรียงราย ให้เห็น ขณะเชฟลงมือแล่เนื้อปลาด้วยความประณีต  รับประกันว่าได้ของสดและไม่คาว

เหมือนเราดูการแสดงของเชฟเป็นของแถม เพื่อกระตุ้นต่อมน้ำลาย ก่อนจะได้ทานอาหารจริง ๆ

Continue reading “ทำไมโอมากาเสะ ติดอันดับอาหารฮิต”

PASAYA : Factory in the Forest

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

“บัดนี้ ทั่วโลกต่างตระหนักว่า ภาวะโลกร้อนกำลังเป็นหายนะภัยที่คุกคามการดำรงอยู่ของทุกชีวิตบนโลกใบนี้ ถ้าหากไม่มีการแก้ไขให้เข้าสู่ภาวะสมดุล มนุษยชาติอาจถึงกาลอวสาน นั่นคือสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ได้สูญพันธุ์ไปก่อนหน้านี้ ดังนั้น โดยหน้าที่และจิตสำนึกของพวกเรา ผมจึงขอประกาศให้พวกเราทุกคนรับทราบว่า บริษัทจะทำโครงการ Zero Emission ยุติการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และโครงการ Net Zero ปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไปจนถึงวันบรรลุเป้าหมาย ภายในปี 2050”

ชเล วุทธานันท์ ประธานกรรมการ บริษัท เท็กซ์ไทล์แกลเลอรี่ จำกัด ผู้ผลิตแบรนด์สิ่งทอ PASAYA กล่าวในงานเปิดตัวภารกิจขององค์กรครั้งสำคัญที่สุดต่อสาธารณชนในรอบหลายปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจหลายแห่งได้เริ่มสนใจปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่มีไม่กี่บริษัทที่กล้าประกาศและตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนเหมือนกับองค์กรแห่งนี้

Continue reading “PASAYA : Factory in the Forest”

ทำอาชีพอิสระได้อะไรบ้าง

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

ผู้เขียนเคยทำงานประจำมาเป็นเวลา 30 กว่าปี เริ่มจากเป็นพนักงานระดับปฏิบัติงานจนเวลาต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารองค์กรหลายแห่ง จากที่เคยรับผิดชอบกับงานในหน้าที่อย่างเดียวก็ค่อยๆ รับผิดชอบกับงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน รวมถึงดูแลผู้ใต้บังคับบัญชานับร้อยคน

ไม่รวมถึงตำแหน่งหน้าที่ในสังคมที่ต้องเป็นกรรมการองค์กรต่างๆ ทั้งสถาบัน สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ ทั้งโดยตำแหน่งจากหน้าที่การงาน และมีผู้คนมาเชื้อเชิญให้เป็นกรรมการ

4 ปีที่ผ่านมา หลังจากเก็บเงินได้พอสมควร ผู้เขียนได้ลาออกจากงานประจำเพื่อมาทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ เป็นนายของตัวเอง ไม่ต้องมีเวลาเข้าที่ทำงาน ไม่ต้องมีเวลาเลิกงาน และไม่ต้องถูกกำหนดโดยระเบียบต่างๆ ขององค์การที่ทำงานด้วย 

ตำแหน่งหน้าที่ในสังคมก็ค่อยๆ ลาออก หากไม่สนใจจริงๆ 

Continue reading “ทำอาชีพอิสระได้อะไรบ้าง”

ปัตตานี และโรงเรียนในฝันของปฏิรูปการศึกษา

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

ทุกครั้งเมื่อผู้เขียนจะเดินทางไปสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนๆ ที่ทราบข่าว มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า

“ระวังตัวด้วยครับ”

เป็นเวลานานนับสิบปีแล้ว ที่คนไทยจำนวนมากมีภาพจำเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า เป็นดินแดนที่ผู้คนอยู่กันด้วยความหวาดกลัว ระแวงว่าจะมีการวางระเบิด เสียงปืนปะทะกัน มีเสียงหวอของรถพยาบาล บ้านช่องปิดเงียบไม่คึกคัก

ใครไม่มีธุระจำเป็น ไม่ควรไปดินแดนเหล่านี้

ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนใช้เวลาสี่ห้าวันตระเวนไปเยี่ยมชุมชนชาวมุสลิมหลายแห่งในจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ทุกแห่งที่เดินทาง ผู้คนใช้ชีวิตปกติ อยู่กันด้วยความสงบสุข  ร้านค้าเปิดขายกัน ผู้คนเดินทางกันขวักไขว่

รถราตามท้องถนนแล่นกันพลุกพล่าน ไม่ได้เงียบเหงาวังเวงอย่างที่คนข้างนอกจินตนาการ

ชาวบ้านในพื้นที่แนะนำว่า ระหว่างเดินทาง หากไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวจะปลอดภัยกว่าเป็นรถของทางการ

ด่านหลายแห่งตามท้องถนนที่เคยมีทหาร ตำรวจรักษาการณ์เคร่งครัด กลายเป็นด่านร้าง แทบจะไม่ค่อยมีเจ้าหน้าที่ประจำการ

…….

Continue reading ปัตตานี และโรงเรียนในฝันของปฏิรูปการศึกษา

เจตจำนงของมหาเศรษฐี

By วันชัย ตัน 

ในบ้านเรา ตอนสายๆ มักจะสังเกตเห็นคนจำนวนมากยืนเข้าคิวหน้าศูนย์การค้าขนาดใหญ่รอเวลาห้างเปิด ต่างกันลิบลับกับพิพิธภัณฑ์ที่มีคนเข้าเยี่ยมชมบางตา  ขณะที่ในประเทศทางยุโรปและสหรัฐอเมริกา เรามักจะเห็นคนจำนวนมากมาเข้าคิวรอเวลาพิพิธภัณฑ์เปิด

ว่ากันว่าคุณภาพของคนในประเทศวัดได้จากจำนวนคนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ และแน่นอนว่ารวมถึงความสนใจของภาครัฐและเอกชนต่อการสนับสนุนความก้าวหน้าของพิพิธภัณฑ์ในประเทศนั้นๆ ด้วย

Continue reading “เจตจำนงของมหาเศรษฐี”

ทำเต้าหู้กินเอง อร่อยกลางโควิด

ตั้งแต่เป็นเด็ก แม่มักจะไปซื้อน้ำเต้าหู้หรือน้ำนมถั่วเหลืองมาให้กินเสมอ ๆ เช่นเดียวกับอาหารจานโปรดคือ เต้าหู้ผัดถั่วงอก

พอเข้าครัวทีไรก็เห็นขวดซีอิ้ว ขวดเต้าเจี้ยววางอยู่ แต่ไม่เคยเอะใจว่ามีที่มาจากถั่วชนิดเดียวกัน คือถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่มนุษย์ปลูกกินกันมานานกว่าห้าพันปีแล้ว โดยสันนิษฐานว่าเริ่มปลูกในประเทศจีน

ถั่วเหลืองได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาแห่งถั่ว” จากคุณประโยชน์มากมายทางโภชนาการ ทำอาหารนานาชนิด และนำไปแปรรูป ผลิตน้ำมันพืช อาหารสัตว์ ฯลฯ

Continue reading “ทำเต้าหู้กินเอง อร่อยกลางโควิด”

ความฝันของคนปั้นซูชิ

มีคนเคยบอกว่า  หากคุณโชคดีได้ดูหนังดี ๆ สักเรื่อง อ่านหนังสือดี ๆสักเล่ม นอกจากความรื่นรมย์ของสิ่งที่ได้รับแล้ว ชีวิตของคุณอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้

ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนที่ได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง JIRO Dreams of Sushi หนังเล็ก ๆ ที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของนายจิโระ โอโนะ วัย ๘๕ ปี ผู้ได้ชื่อว่าเป็นพ่อครัวปรุงซูชิที่เก่งที่สุดในโลก เวลาเพียงไม่ถึงสองชั่วโมงในโรงหนังอาจจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเขาไปเลย

หนังเรื่องนี้ที่มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ซูชิเล็ก หัวใจใหญ่”  ไม่ได้มาเล่าเรื่องวิธีหรือเคล็ดลับการปรุงซูชิให้อร่อยเลิศรส แต่เป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่รู้จักและค้นพบตัวเองมาตั้งแต่วัยรุ่นว่าต้องการอะไรในชีวิต และค้นพบงานอันเป็นที่รักของเขา

ทุกวันนี้บางคนเกษียณอายุแล้ว ยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตอยากเป็นอะไร

Continue reading “ความฝันของคนปั้นซูชิ”

โลกวิทยาศาสตร์กับมุสลิม (ตอนที่ ๒)

By One Ton on วันศุกร์, กรกฎาคม 4, 2014

muslim02

ภายในพิพิธภัณฑ์มีลูกโลกแสดงแผนที่โลกสมัยโบราณและอุปกรณ์การเดินเรือ เมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ ปีก่อน

ความเดิมจากตอนที่ ๑ ผู้เขียนได้ไปเยือนพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอิสลามแห่งอิสตันบูล ประเทศตุรกี สถานที่รวบรวมผลงานจำลองสิ่งประดิษฐ์ชิ้นสำคัญของนักวิทยาศาสตร์มุสลิมช่วงศตวรรษที่ ๙-๑๖ อันถือเป็นยุคทองของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ของชาวมุสลิม ตั้งแต่เครื่องมือด้านดาราศาสตร์ การเดินเรือ การก่อสร้าง เรขาคณิต เคมี เครื่องมือวัดระยะ อาวุธยุทโธปกรณ์ จนถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์ การรักษา การผ่าตัด ซึ่งหลายเรื่องเคยคิดว่าเป็นผลงานของนักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป แต่กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ยุโรปนำไปต่อยอดดัดแปลง

Continue reading “โลกวิทยาศาสตร์กับมุสลิม (ตอนที่ ๒)”

โลกวิทยาศาสตร์กับมุสลิม (ตอนที่ ๑)

By One Ton on วันจันทร์, มิถุนายน 9, 2014

ลูกโลกจำลองซึ่งสร้างจากแผนที่โลกโบราณตั้งอยู่หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ในกรุงอิสตันบูล

ผู้มีความรู้ ๑ คนนั้นเข้มแข็งกว่าผู้ศรัทธา ๑,๐๐๐ คน

อัลกุรอาน

ก่อนจะมาเยือนกรุงอิสตันบูล เมืองหลวงเก่าของประเทศตุรกี ผู้เขียนเคยได้ยินว่า คนส่วนใหญ่เชื่อว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในโลกปัจจุบันหลักๆ ล้วนมีรากฐานจากชาวยุโรปผู้นับถือศาสนาคริสต์ แต่น้อยคนจะรู้ว่าชาวมุสลิมมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก่อนชาวยุโรปมาหลายร้อยปีแล้ว

Continue reading “โลกวิทยาศาสตร์กับมุสลิม (ตอนที่ ๑)”