ความในใจของลิงวอกภูเขา

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์

“ หนูมีความสุขทุกครั้ง เมื่อได้เข้าป่าไปหาเพื่อน ใช่แล้ว เพื่อนของหนูคือลิง”

จุรีรัตน์ แหวนอาจ ผู้ช่วยนักวิจัยลิงวอกภูเขา

ความสุขแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผู้ช่วยนักวิจัยสัตว์ป่าบางคนมีความสุขกับการได้เข้าป่าลึก ใช้เวลาทั้งวันติดตาม เก็บข้อมูลสังเกตพฤติกรรม ได้เรียนรู้นิสัยของลิงอ้ายเงี้ยะ หรือลิงวอกภูเขา

แม้ระหว่างทางจะต้องบุกป่าฝ่าดง เดินทางด้วยความยากลำบาก เจอทั้งทาก เห็บ งูพิษ หรือโชคร้ายต้องหนีกระทิง ช้าง เสือ แต่พวกเขายังดั้นด้นที่จะไปหาลิงเหล่านี้ด้วยความสุข เพราะมีลิงเป็นเพื่อน

พวกเขาใช้ชีวิตแบบนี้เกือบทุกวันเป็นเวลาสิบกว่าปี

กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ผมมีโอกาสเดินเข้าป่าลึกติดตามการทำงานของผู้ช่วยนักวิจัยเหล่านี้

Continue reading “ความในใจของลิงวอกภูเขา”

แก่งคอย ภูเขาหินปูนและปรงยักษ์ 400 ปี

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์

คุณเคยไปเที่ยวอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีไหมครับ

แก่งคอยในสายตาของคนส่วนใหญ่น่าจะเป็นแค่ทางผ่าน เพื่อท่องเที่ยวไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพราะ เวลาพูดถึงแก่งคอย จะนึกว่า ไม่มีอะไรน่าสนใจ มีแต่เขม่าควันจากโรงปูนซิเมนต์ โรงงานอุตสาหกรรมหลายสิบแห่ง หากไม่มีธุระ ก็ไม่อยากเข้าไปแวะเวียน

แต่อันที่จริง แก่งคอยในอดีต คือสถานที่มีอากาศบริสุทธิ์สดชื่น ใกล้กรุงเทพมหานครมากที่สุด จนทำให้คนเมืองกรุงหลายคนนิยมมาสร้างบ้านพักตากอากาศ ไว้เป็นที่พักผ่อนของครอบครัว

บริเวณนี้มีแก่งมากมาย และชื่อ “แก่งคอย” ก็มีที่มาจากการที่คนสมัยก่อนต้องมาคอยเรือ เพื่อเดินทางทวนน้ำขึ้นไปเมืองโคราชหรือเมืองเพชรบูรณ์ตามแก่งเหล่านี้ จึงเรียกว่า แก่งคอย  มีธรรมชาติงตงามด้วยป่าใหญ่ ภูเขาหินปูน และแม่น้ำป่าสัก

บรรยากาศงดงาม ถึงขนาด แอ๊ด คาราบาว ได้แต่งเพลง “แร้งคอย” บรรยายสภาพของแก่งคอยว่า

Continue reading แก่งคอย ภูเขาหินปูนและปรงยักษ์ 400 ปี

สะพานเชื่อมทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ บนเกาะไอซ์แลนด์

สำหรับนักท่องเที่ยวขาลุยที่ชอบท่องเที่ยวธรรมชาติมากกว่าการเที่ยวในมหานครใหญ่แล้ว ไอซ์แลนด์ กำลังเป็นประเทศจุดหมายปลายทาง ตัวเลือกที่น่าสนใจและกำลังมาแรง แม้ค่าครองชีพ ค่าเดินทางจะค่อนข้างสูง

ไอซ์แลนด์เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในยุโรปรองจาก เกาะอังกฤษ ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ตั้งอยู่ระหว่างอังกฤษ นอร์เวย์และเกาะกรีนแลนด์ มีเมืองหลวงชื่อภาษาพื้นเมืองว่า Reykjavík

ในทางภูมิศาสตร์ ไอซ์แลนด์เป็นเกาะเกิดใหม่ จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ดันหินหลอมเหลวใต้เปลือกโลกขึ้นมาตามรอยแยกเมื่อ 70 ล้านปีก่อน  เกาะตั้งอยู่บนสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก(Mid Atlantic Ridge)    ซึ่งเป็นแนวแผ่นเปลือกแยกตัวระหว่างแผ่นทวีปอเมริกาเหนือและแผ่นทวีปยูเรเชีย

Continue reading “สะพานเชื่อมทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ บนเกาะไอซ์แลนด์”

เผชิญหน้าฝูงวัวแดงแห่งป่าห้วยขาแข้ง

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์ 

มีเพื่อนเคยถามว่า “ป่าห้วยขาแข้งใหญ่แค่ไหน”

ผมตอบว่า “คิดว่ากรุงเทพมหานครมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ไหม”

 เพื่อนพยักหน้า

 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีพื้นที่มากกว่า 1,800,000 ไร่  ใหญ่กว่ากรุงเทพมหานครเกือบสองเท่า

มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่น้อยกว่า 159 ชนิด นกไม่น้อยกว่า 428 ชนิด โดยรวมมีสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า โดยเฉพาะป่าแห่งนี้ เป็นพื้นที่บริเวณเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสัตว์ในวงศ์วัว อาศัยอยู่ถึงสามชนิด คือ วัวแดง กระทิง และควายป่า

วัวแดง สัตว์ที่มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าวัวบ้าน ลำตัวสีน้ำตาลสวยงามมาก  บนผืนโลกนี้มีเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และในเมืองไทย สถานภาพปัจจุบันของวัวแดง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ไอยูซีเอ็น (IUCN) จัดให้อยู่ในประเภทใกล้สูญพันธุ์ (EN) เคยอาศัยอยู่ตามป่าทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันลดจำนวนลงมากจากป่าถูกทำลายและการไล่ล่าของมนุษย์

Continue reading “เผชิญหน้าฝูงวัวแดงแห่งป่าห้วยขาแข้ง”

จากเสากินรี ถึง กำแพงกันคลื่น

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์

ทุกครั้งที่ผู้เขียนเดินทางไปต่างจังหวัด มักจะเห็นสิ่งก่อสร้างหลายแห่งของทางราชการที่ใช้เงินภาษีของประชาชน สร้างเสร็จได้ไม่นาน แล้วโดนทิ้งร้าง หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่

คนในวงการราชการทราบดีว่า แต่ละปีงบประมาณสำหรับการก่อสร้างของหน่วยราชการ กรม กอง องค์การอิสระ ไปจนถึงองค์กรปกครองท้องถิ่น อบต.อบจ.ฯลฯ  จะเป็นที่จับจ้องของหลายฝ่ายในการใช้งบประมาณ เนื่องด้วยงบก่อสร้างมีค่าใช้จ่ายสูง โครงการส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ความชำนาญในการก่อสร้าง บริษัทรับเหมาก่อสร้างรายเล็ก ๆ ก็สามารถประมูลงานได้

หากเป็นโครงการขนาดเล็ก งบประมาณไม่สูง ก็จะสะดวกยิ่งขึ้น ไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment ) แค่เสนอโครงการขึ้นมา อ้างเหตุผลความจำเป็นความเดือดร้อนหรือความต้องการของชาวบ้าน และเสนองบประมาณไปตามขั้นตอน รอการอนุมัติ

แต่ละปี เราจึงเห็นการจัดสรรงบประมาณ ไปลงที่ถนน ทางเดินฟุตบาท อาคารเอนกประสงค์ การสร้างฝาย และล่าสุดที่กำลังเป็นข่าวหนาหูคือ เสาไฟฟ้ากินรี

Continue reading “จากเสากินรี ถึง กำแพงกันคลื่น”

เมื่อคนตัวเล็ก ๆ ช่วยชีวิตนกป่า

“นกเค้าโมงตัวนี้ติดกาวดักหนู จนขนเสียหายยับเยินหมด น่าจะดิ้นรนไม่เบา ทำให้ขนหลายส่วนเกิดการเสียหายอย่างรุนแรง การฟื้นฟูนกให้กลับสู่ธรรมชาติได้มีหนทางเดียว คือต้องรอให้นกผลัดขนชุดใหม่หมด ซึ่งการผลัดขนของนกเค้าโมงจะใช้เวลาประมาณครึ่งปี นกก็จะเสียเวลาชีวิตในธรรมชาติเกินครึ่งปี แลกกับการติดกาวดักหนูเพียงไม่กี่ชั่วโมง”

คุณฌาน โทสินธิติ ทีมงานสำคัญของกลุ่มฟื้นฟูนกป่าล้านนา ให้ข้อมูลสำคัญว่าทำไมการใช้กาวดักหนู ทำให้เกิดปัญหาตามมาโดยไม่คาดคิด

Continue reading “เมื่อคนตัวเล็ก ๆ ช่วยชีวิตนกป่า”

การกลับมาของสัตว์ป่าสงวน

3 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก (World Wildlife Day)  เพื่อเตือนให้ผู้คนในโลกหันมาสนใจเพื่อนร่วมโลกจำนวนมากที่กำลังสูญพันธุ์ลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในบ้านเรา จะรู้จักกันดีกับคำว่า สัตว์ป่าสงวน

สมัยเป็นเด็ก เวลานึกถึงสัตว์ป่าสงวน เรามักจะคิดว่า เป็นสัตว์ป่าที่สูญพันธุ์ไปหมดจากเมืองไทยนานแสนนาน ห่างไกลจากการรับรู้ของคนทั่วไป และแน่นอนว่า ภาพสัตว์ป่าสงวนตัวแรกที่ผุดขึ้นมาคือ สมัน หรือเนื้อสมัน  ตัวผู้จะมีเขาแตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ จนได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยงามที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง

Continue reading “การกลับมาของสัตว์ป่าสงวน”

ตามหา บัวผุด สุดยอดปรสิตระดับเทพ

“พี่รู้ไหม นักท่องเที่ยวคนไทยหลายคนนึกภาพฝันว่า ข้างบนเขาที่มีดอกบัวผุด หน้าตาจะเป็นอย่างไร”

แอ๊ด คนนำทางพื้นเมือง เอ่ยปากกับผม ก่อนจะเริ่มต้นเดินขึ้นเขา

“พวกเขาคิดว่าเป็นอย่างไรครับ”

“ พวกเขาคิดว่า ข้างบนโน้น น่าจะเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ แล้วมีบัวสวยงามขนาดใหญ่ที่เรียกว่า บัวผุด ลอยเด่นอยู่กลางสระ ราวสรวงสวรรค์  แต่พอได้เห็นของจริงก็บอกว่า แค่นี้เหรอ”

ผมอมยิ้มกับจินตนาการสุดบรรเจิดของนักท่องเที่ยวเหล่านี้

“”””””””””””””””””””””””””

Continue reading “ตามหา บัวผุด สุดยอดปรสิตระดับเทพ”

ปลูกข้าวอินทรีย์ ไม่ง่าย แต่…

“จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ…”

ผมรู้จักบทเพลงนี้ของ จิตร ภูมิศักดิ์ นักวิชาการ กวี คนสำคัญของประเทศมายาวนานแล้ว แต่เพิ่งเข้าใจความรู้สึกจริงๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง

เมื่อประมาณ 3 ปีก่อน ผมและภรรยา(ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์) ได้กลับมาฟื้นฟูผืนนาในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ซื้อไว้นานนับ 10 ปีแล้วอย่างจริงจัง โดยออกแบบผืนนาหลายสิบไร่ให้มีสภาพเป็นทุ่งน้ำและไร่นาเกษตรอินทรีย์ เรียกว่าทุ่งน้ำนูนีนอย เพื่อหวังให้เป็นศูนย์ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับธรรมชาติภายใต้พลังดอยหลวงเชียงดาว ท่ามกลางนาระบบเหมืองฝายโบราณ และปล่อยให้ธรรมชาติและสัตว์ป่าฟื้นตัวขึ้นมาเอง เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ผลิตอาหาร

Continue reading “ปลูกข้าวอินทรีย์ ไม่ง่าย แต่…”

ความลับของกุหลาบ

“เราทุกคนต่างใฝ่ฝันถึงสวนกุหลาบในแดนมหัศจรรย์เหนือเส้นขอบฟ้า แทนที่จะชื่นชมกับดอกกุหลาบ

ที่บานอยู่นอกหน้าต่างในวันนี้”

– Dale Carnegie

ชีวิตที่ผ่านมา ผมชื่นชอบดอกกุหลาบมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่น

ชอบกลิ่นหอมกุหลาบ ชอบสีสัน และกลีบกุหลาบทับซ้อนอันบอบบาง

Continue reading “ความลับของกุหลาบ”

สิ่งมีชีวิตล้วนมี social distance

 

;;;;

 

ในช่วงที่ covid-19 ระบาดอย่างหนัก คำว่า social distance หรือ การมีระยะห่าง

น่าจะเป็นพฤติกรรมและคำพูดติดปากคนทั่วโลกไปอีกนาน

จนอาจจะเป็นพฤติกรรมใหม่ ๆของมนุษย์ต่อไปในอนาคต

ประมาณว่า ยืนคุยกัน นั่งคุยกัน กินข้าวร่วมโต๊ะเดียวกัน

อาจต้องมีระยะห่างเพื่อความปลอดภัย

แต่ในความเป็นจริง เราคุ้นเคยกับระยะห่างในธรรมชาติมานานแล้ว

เพียงแต่ว่าเราไม่ได้สังเกต Continue reading “สิ่งมีชีวิตล้วนมี social distance”

เผชิญหน้าแมมมอททั้งตัวทั้งขน

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมืองหลวงเก่าแก่ของประเทศรัสเซีย เป็นเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์มาหลายร้อยปี เป็นศูนย์กลางอารยธรรมอันรุ่งโรจน์ของจักรวรรดิรัสเซียในอดีต

ใครมาเยือนมหานครแห่งนี้จะพบเห็นร่องรอยความยิ่งใหญ่ด้านศิลปะ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมอันเลื่องชื่อ

แต่ไม่ค่อยมีคนทราบว่าเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นแหล่งความรู้ด้านธรรมชาติวิทยามาหลายร้อยปีแล้ว

เดือนธันวาคม ปลาย ค.ศ. ๒๐๑๗ ผู้เขียนเดินฝ่าหิมะหนาวยะเยือกไปเยือนพิพิธภัณฑ์สวนสัตว์ที่มีชื่อทางการว่า The Zoological Museum of the Zoological Institute of the Russian Academy of Sciences เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาขนาดใหญ่ติดอันดับ ๑ ใน ๑๐ ของโลก มีชิ้นตัวอย่างสิ่งมีชีวิตทั่วโลกสะสมถึง ๑.๗ ล้านชนิด และจัดแสดงให้ชมถึง ๑ ล้านชิ้น ของเหล่านี้เก็บมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๗๒๔ สมัยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ผู้สร้างเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นเมืองหลวง Continue reading “เผชิญหน้าแมมมอททั้งตัวทั้งขน”