Home

Recent Posts

Blindness in the red path  บทเรียนจากแอลเบเนีย

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์ ไม่นานมานี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้เดินทางไปแอลเบเนีย ประเทศเล็ก ๆ แถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้  มีขนาดพื้นที่เพียง 18 ล้านไร่  ขนาดเล็กกว่าภาคตะวันออกของไทยเสียอีก คนไทยอาจจะแทบไม่รู้จักประเทศยุโรปแห่งนี้ แต่บุคคลผู้มีชื่อเสียงระดับโลกคนหนึ่ง คือ แม่ชีเทเรซา นักบุญผู้ช่วยเหลือและต่อสู้เพื่อคนยากไร้ตลอดชีวิต ก็คือชาวแอลเบเนีย ประเทศแห่งนี้เคยได้สมญาว่า เกาหลีเหนือแห่งยุโรป จากอดีตที่เคยปิดประเทศมายาวนานและมีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ทำให้แอลเบเนียได้ชื่อว่าเป็นประเทศยากจนที่สุดในยุโรป จากความยากจน ความว่างงาน การคอรัปชั่น และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และการปกครองแบบเผด็จการอันยาวนาน และจากความคิดของผู้นำประเทศที่สร้างสิ่งก่อสร้างไร้ประโยชน์ทั่วประเทศ จนทำให้ประเทศเกือบล้มละลาย  เชื่อหรือไม่ว่า แอลเบเนียแม้จะเป็นประเทศขนาดเล็กมาก แต่มีบังเกอร์คอนกรีตหรือหลุมหลบภัยมากที่สุดในโลกถึง 173,371 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 ถึง 1980 ในสมัยของประธานาธิบดี Enver Hoxha อดีตจอมเผด็จการผู้นำประเทศผู้ปกครองประเทศมายาวนาน  (1944 -1985)  ด้วยสาเหตุคือ แม้ว่าแอลเบเนียจะเคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของโซเวียตรัสเซียในยุคสมัยของสตาลิน  แต่ต่อมาเกิดความขัดแย้งกันในสมัย นีกีตา ครุชชอฟ ผู้นำรัสเซียคนต่อมา แอลบาเนียจึงไปมีความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในยุคเหมา เจ๋อ ตงแทน และHoxha กลัวว่ากองทัพโซเวียตจะบุกยึดครอง … Continue reading Blindness in the red path  บทเรียนจากแอลเบเนีย

CSR กับบ้านพักครูที่ถูกทิ้งร้าง

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์ ทุกวันนี้บริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่มักมีการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือที่รู้จักกันในนามของ CSR (Corporate Social Responsibility) คือ กิจกรรมที่บริษัทหรือองค์กรจัดขึ้นภายใต้แนวคิดในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การทำ CSR ส่วนใหญ่ที่เรามักได้ยินคือ การปลูกปา แจกอาหาร แจกสิ่งของให้กับผู้ยากไร้ตามชุมชน หรือบริจาคอุปกรณ์การเรียน การสอน เครื่องกีฬาให้กับโรงเรียน ฯลฯ แต่ในจังหวัดสมุทรปราการ มีการทำกิจกรรม CSR แห่งหนึ่ง ที่มีแนวคิดแหวกแนว

ลายเส้นเฟื้อ หริพิทักษ์ สมบัติล้ำค่าที่เพิ่งเปิดเผย

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์          เป็นที่ทราบกันดีว่า ศิลป์ พีระศรี ได้รับการยกย่องให้เป็น เป็นบิดาแห่งวงการศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทย  เช่นเดียวกับ เฟื้อ หริพิทักษ์ เป็นครูใหญ่ของวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทย          เฟื้อ หริพิทักษ์(พ.ศ.2543-2536)  ถือเป็นศิษย์รุ่นแรกของ อ.ศิลป์ พีระศรี ตั้งแต่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ในปีพ.ศ. 2476  ก่อนจะเติบโตเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร          คนในวงการศิลปะทราบดีว่า งานของอาจารย์เฟื้อจะมีราคาแพงอันดับต้น ๆของบรรดาศิลปินไทย  หากมีภาพของอาจารย์เฟื้อ หลุดออกมาประมูลอย่างน้อยราคาประมูลต้องมีเลขเจ็ดหลัก หลายคนอาจรู้จักอาจารย์เฟื้อในฐานะครูบาอาจารย์ที่มีผลงานด้านศิลปะไทยมากมายจนได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติในปี 2528 ศิลปินส่วนใหญ่อาจรู้จักอาจารย์เฟื้อในฐานะผู้บุกเบิกงานศิลปะแนวอิมเพรสชันนิสม์ยุคแรกๆ ของเมืองไทย ทั้งยังเป็นเจ้าของรางวัลเหรียญทองจากงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติถึงสามครั้งด้วยกัน คนในวงการอนุรักษ์อาจรู้จักอาจารย์เฟื้อในฐานะผู้บุกเบิกงานอนุรักษ์จิตรกรรมภาพฝาผนังไทยอย่างจริงจัง  รากฐานของศิลปะไทย ที่สืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน ก็มาจากการทำงานอนุรักษ์ของท่านมาตลอดชีวิต จนได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขาบริการชุมชน ในปี 2526 แต่เหนืออื่นใด ท่านคือผู้ทำงานศิลปะที่มีชีวิตเยี่ยงศิลปินอย่างแท้จริง ช่วงชีวิตกว่า 80 ปีของอาจารย์เฟื้อยิ่งใหญ่ในสายตาของคนรู้จัก  ชีวิตที่ผ่านโลกมาโชกโชน เหมือนเรือล่องในทะเลผ่านมรสุมความทุกข์ยากมาตลอดชีวิต มีทุกข์มีสุข หลากหลายอารมณ์คละเคล้าราวกับตัวละครที่โลดแล่นในนิยายเล่มโต เป็นชีวิตที่มีรสชาติมีสีสันราวกับภาพอิมเพรสชันนิสม์ที่ปาดป้ายสีอันหนักแน่นรุนแรงลงบนผืนผ้าใบ เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่มีวิญญาณขบถ ที่น้อยคนนักในสังคมไทยยุคก่อนและยุคนี้จะแสดงความกล้าออกมาเฉกเช่นท่าน วิญญาณขบถที่ต่อมามีคุณูปการแก่สังคมไทยอย่างมหาศาล

เมื่ออุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 องศา กับความร้อนจัดเป็นประวัติการณ์

วันชัย  ตันติวิทยาพิทักษ์ อากาศร้อนจัดเป็นประวัติการณ์ ปะการังฟอกขาว หญ้าทะเลตายเกลื่อน สิ่งเหล่านี้คือความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชาวโลกกำลังจะเผชิญกับมหันตภัยจากโลกร้อนแน่นอน สาเหตุมาจากอะไร เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567 มีข่าวใหญ่ในสื่อต่างประเทศ แต่แทบจะไม่เป็นข่าวในสื่อไทย คือ Nature Climate Change หน่วยงานหลักที่ดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ได้เปิดเผยงานวิชาการที่เก็บข้อมูลมานานว่า  ในปี 2023 โลกมีอุณหภูมิร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ปี 2393-2443) เป็นครั้งแรกไปเรียบร้อยแล้ว ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกพยายามจะจำกัดอุณหภูมิไม่ให้ร้อนเกิน 1.5 องศาเซียลเซียส ก่อนหน้านี้ Berkeley Earth องค์กรวิจัยอิสระด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ ได้เผยแพร่รายงานอุณหภูมิโลกประจําปี 2566 ว่า เป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ และอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ในปีพ.ศ. 2558 ประชาคมโลก 197  ประเทศ ได้ให้คำมั่นไว้ในความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่จะจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้พุ่งเกิน  … Continue reading เมื่ออุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 องศา กับความร้อนจัดเป็นประวัติการณ์

More Posts