สารปนเปื้อนจากแซลมอน

 

 

picture: pink-salmon-web
picture: True North Seafood.

 

ผมเป็นคนชอบกินปลาแซลมอน

จำได้ว่าเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน เพื่อนพาไปกินปลาแซลมอนรมควัน เป็นครั้งแรก

ผมยังนึกสงสัยอยู่ในใจว่า ปลาอะไรหนอ เนื้อสีส้มอมชมพูแสนสวย

พอได้ชิมเนื้อปลาแล้วก็เริ่มติดใจในรสชาติ หาโอกาสกินปลาแซลมอนบ้าง

แต่ไม่บ่อยนัก เพราะตอนนั้นราคาปลาแซลมอนค่อนข้างแพง Continue reading “สารปนเปื้อนจากแซลมอน”

เมื่อข้าพเจ้าถูกควบคุมตัวคืนรัฐประหาร 22 พค. 2557

 

22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. ได้เกิดรัฐประหารขึ้น โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

อันมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ โค่นรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล

นับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

คสช. ได้สั่งให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกแห่งหยุดออกอากาศรายการปกติ

และให้แพร่สัญญาณรายการของกองทัพบกเท่านั้น

Continue reading “เมื่อข้าพเจ้าถูกควบคุมตัวคืนรัฐประหาร 22 พค. 2557”

การไปสู่สรวงสวรรค์ของ Bird of Paradise

DSC_1653_resize_resize

 

“หากเครื่องบินตกระหว่างบินอยู่ใจกลางเกาะนิวกินี

โชคดีก็ขอให้ตายเลย ไม่ต้องทรมาน

เพราะหากรอดชีวิต ก็จะไม่มีเจ้าหน้าที่บุกป่าเข้ามาช่วย

บริเวณกลางเกาะ ยังเป็นดินแดนลึกลับพื้นที่ส่วนมากยังไม่ได้รับการสำรวจ

มนุษย์เข้าไม่ถึง เป็นป่าดงดิบ หนองน้ำ ชุกชุมด้วยโรคภัย

ดงมาลาเรียอันตรายเกินกว่าที่จะมีใครเสี่ยงชีวิตเดินทางเข้าไปช่วยได้”

เรายังจำได้ถึงคำพูดของชาวพื้นเมืองคนหนึ่ง

ช่วงเวลาบนเครื่องบินและมองลงไปเห็นป่าทึบอยู่เบื้องล่าง Continue reading “การไปสู่สรวงสวรรค์ของ Bird of Paradise”

พฤษาวิปโยค 2535 ครั้งสุดท้ายที่ประชาชนไม่แตกแยก

 

ต้นปี 2535 ประชาชนเริ่มไม่พอใจรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหาร รสช.

จนเมื่อพลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ความไม่พอใจก็กระจายไปทั่ว Continue reading “พฤษาวิปโยค 2535 ครั้งสุดท้ายที่ประชาชนไม่แตกแยก”

ดูท่าทางโลกจะไม่รอด 4

 

climateChange

 

ข่าวใหญ่ที่สุดในรอบปี แต่ดูเหมือนกลายเป็นข่าวเล็ก ๆของสื่อไทย

ข่าวชิ้นนี้กำลังบอกเราว่า

การอยู่รอดของธรรมชาติและมนุษยชาติบนโลกสีน้ำเงินใบนี้กำลังริบหรี่ลงเรื่อย ๆ Continue reading “ดูท่าทางโลกจะไม่รอด 4”

ความรักของแม่ปลา

 

 

DSC_0630_resize_exposureหนองน้ำหน้าบ้านทางเหนือ ล้อมรอบด้วยทุ่งนา

อากาศกำลังเย็นสบาย ฝนเริ่มตกแล้ว ตอนนี้ชาวนากำลังปล่อยน้ำเข้านา

เพื่อให้น้ำขังต้นหญ้าให้เฉาตาย

ก่อนจะเริ่มพรวนดิน เริ่มต้นฤดูกาลทำนารอบใหม่ Continue reading “ความรักของแม่ปลา”

ปรัชญาจากไม้ตียุง

 

KORAMZI-Electric-Mosquito-Swatter-F-4-2

ระยะนี้ยุงชุมมาก

ตอนแรกผมนึกว่ามีแค่บ้านผมที่มียุงชุม

คงเนื่องจากต้นไม้ในสวนหน้าบ้านเจริญงอกงาม

ยังมีอ่างเลี้ยงปลาและอ่างบัวมากขึ้น

ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงชนิดต่าง ๆ

ให้ออกลูกออกหลานได้มากขึ้น Continue reading “ปรัชญาจากไม้ตียุง”

ประกาศภาวะฉุกเฉินโลกร้อน เมื่อขบวนการสิ่งแวดล้อมเริ่มเดินหน้า

 

58374718_10156256264937361_1298361844712341504_n

เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์การประท้วงของกลุ่ม

Extinction Rebellion บริเวณริมทะเลสาบ

เมือง Dunedin ประเทศ New Zealand

 

Extinction Rebellion เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

เริ่มประท้วงในกรุงลอนดอน และกระจายไปตามหัวเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก

อาทิ ฝรั่งเศส แคนาดา เม็กซิโก อิตาลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ

เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลได้หันมาสนใจปัญหา โลกร้อน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างจริงจัง

Continue reading “ประกาศภาวะฉุกเฉินโลกร้อน เมื่อขบวนการสิ่งแวดล้อมเริ่มเดินหน้า”

ตาเลื่อนบ้า กับพลับพลึงธารแห่งเดียวในโลก

DSC_5858_resize_exposure_resize

พังงาในความทรงจำครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีก่อน

ผมไปเยือนเมื่อคราวเกิดเหตุการณ์สึนามิ

วันที่ 26 ธันวาคม 2547 มีคนตาย 3,000 กว่าคน

ตอนนั้นเดินทางมาที่อำเภอคุระบุรี แล้วลงเรือข้ามไปที่เกาะพระทอง

ไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือพรรคพวกที่ประสบภัยอยู่ที่นั่น

 

ครั้งนี้ผมเดินทางไปอำเภอคุระบุรี ตามคำร่ำลือว่า

มีพืชน้ำชนิดหนึ่งซึ่งน่าจะเหลืออยู่ที่เดียวบนผืนโลกนี้

คือ พลับพลึงธาร Continue reading “ตาเลื่อนบ้า กับพลับพลึงธารแห่งเดียวในโลก”

เมื่อคนญี่ปุ่นสร้างชาติจากการต่อแถว

2556-03-05 15-51-06 - DSC_7030_resize_exposure

เมื่อไม่นานมานี้ ขณะผู้เขียนเดินเล่นอยู่ในเมืองซัปโปโร เกาะฮอกไกโด

สังเกตเห็นผู้คนจำนวนมากเข้าคิวเพื่อรอชมการแสดงแห่งหนึ่ง

ด้วยความหนาวเหน็บต่ำกว่าศูนย์องศาอย่างอดทน

อาจจะเป็นภาพชินตาในสังคมญี่ปุ่น Continue reading “เมื่อคนญี่ปุ่นสร้างชาติจากการต่อแถว”

การแปรอักษรครั้งประวัติศาสตร์กับปรีดี พนมยงค์

 

IMG_9457

 

ปี พ.ศ.2522 เป็นปีแรกที่ผมเข้าเป็นนักศึกษาปี 1 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ช่วงเวลานั้นเพิ่งผ่านเหตุการณ์สังหารหมู่ใูนธรรมศาสตร์ 6 ตลุาคม 2519 ได้เพียง 3 ปี

บรรยากาศในมหาวิทยาลัยยังอยู่ในช่วงฟื้นไข้จากเหตุการณ์หฤโหด

กิจกรรมนักศึกษาเพิ่งกลับมาแต่ยังซบเซา

ปกคลุมไปด้วยความหวาดระแวง อึมครึม Continue reading “การแปรอักษรครั้งประวัติศาสตร์กับปรีดี พนมยงค์”