the reason for living
เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์การประท้วงของกลุ่ม Extinction Rebellion บริเวณริมทะเลสาบ เมือง Dunedin ประเทศ New Zealand Extinction Rebellion เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เริ่มประท้วงในกรุงลอนดอน และกระจายไปตามหัวเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก อาทิ ฝรั่งเศส แคนาดา เม็กซิโก อิตาลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลได้หันมาสนใจปัญหา โลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างจริงจัง
พังงาในความทรงจำครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีก่อน ผมไปเยือนเมื่อคราวเกิดเหตุการณ์สึนามิ วันที่ 26 ธันวาคม 2547 มีคนตาย 3,000 กว่าคน ตอนนั้นเดินทางมาที่อำเภอคุระบุรี แล้วลงเรือข้ามไปที่เกาะพระทอง ไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือพรรคพวกที่ประสบภัยอยู่ที่นั่น ครั้งนี้ผมเดินทางไปอำเภอคุระบุรี ตามคำร่ำลือว่า มีพืชน้ำชนิดหนึ่งซึ่งน่าจะเหลืออยู่ที่เดียวบนผืนโลกนี้ คือ พลับพลึงธาร
ปลายหน้าร้อนเมื่อปีก่อน ผู้เขียนเดินทางลึกเข้าไปสำรวจสภาพป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี จำได้ว่าครั้งหนึ่งไปอยู่กลางดงต้นไม้แห่งหนึ่ง ดอกไม้หลายชนิดออกดอกบานสะพรั่ง ผึ้งหลายพันตัวบินว่อนไปทั่ว จนต้องหลบกันจ้าละหวั่น ราวกับอยู่ในหมู่ผึ้งแตกรัง เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ไปด้วยกันบอกว่า “น้ำผึ้งเดือนห้าที่เขาว่าดีที่สุด ก็คือช่วงนี้แหละ ผึ้งกำลังบินหาดอกไม้สะสมน้ำหวานจากเกสร”
ภาษาอังกฤษ มีศัพท์คำหนึ่งฟังแล้วชวนขนลุก ผู้สนใจธรรมชาติรู้จักดี คือ คำว่า Mass Extinction แปลเป็นไทยว่า การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
ครั้งหนึ่งคุณสืบ นาคะเสถียร เคยเขียนบทกลอนว่า “เสียงปืนที่ดังลั่น ตัวแม่นั้นต้องสิ้นใจ ลูกน้อยที่แบกไว้ กระดอนไปเพราะแรงปืน ฝืนใจเข้ากอดแม่ หวังแก้ให้แม่ฟื้น แม่จ๋าเพราะเสียงปืน จึงไม่คืนชีวิตมา โทษไหนจึงประหาร ศาลไหนพิพากษา ถ้าลูกท่านเป็นสัตว์ป่า ใครเข่นฆ่าท่านยอมไหม ชีวิตใครใครก็รัก ท่านประจักษ์หรือไม่ไฉน โปรดเถิดจงเห็นใจ สัตว์ป่าไซร้ก็เหมือนกัน” บทกลอนนี้น่าจะสะท้อนความรู้สึกของคนจำนวนมาก เมื่อทราบข่าวสะเทือนใจว่า มีกลุ่มบุคคลผู้มีอิทธิพลเข้าป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ล่าเสือดำ และสัตว์อื่น ๆ อีกหลายตัว
บรรดาทาสแมวทาสหมาทั้งหลายจงฟังทางนี้ สัตว์เลี้ยงอะไรเอ่ย เห็นมนุษย์เป็นนาย สัตว์เลี้ยงอะไรเอ่ย เห็นตัวเองเป็นนาย สัตว์ตัวแรกคือ หมา สัตว์ตัวหลังคือ แมว หมาเป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ เป็นฝ่ายเข้าหาเจ้าของ ขณะที่แมว รักอิสระเสรี เจ้าของต้องเข้าหาเอง มนุษย์นำเอาหมาป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยงนานกว่า 3 หมื่นปี ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั่งสองจึงใกล้ชิดมาก ขณะที่แมวป่าถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงเป็นแมวบ้านประมาณ 9พันกว่าปี สัญชาติญาณดิบยังฝังอยู่ในสายเลือด จึงไม่น่าแปลกใจ แมวยังเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดเดียวที่ยังล่าสัตว์ตัวอื่นเป็นอาหาร
“ตอนนี้พวกมึงเลี้ยงนกกระเรียนไปก่อนนะ อีกหน่อยนกมันจะเลี้ยงพวกมึงเอง” คำพูดสั้นๆของนักการเมืองผู้กว้างขวางในจังหวัดบุรีรัมย์ ต่อหน้าบรรดาผู้นำท้องถิ่นในอำเภอเมืองเมื่อหลายเดือนก่อน ได้ช่วยคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวนากับนกจากการปล่อยนกกระเรียนไทยคืนถิ่นในธรรมชาติบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก ก่อนหน้านี้ นกกระเรียนไทย มีเรื่องเล่ามากมายกว่าจะเดินทางมาถึงตรงนี้ ……………………………
หากมีเวลาว่าง ผู้เขียนชอบเดินป่า ขึ้นเขา เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ยิ่งหากมีโอกาสไปเมืองนอกทีไร การเดินป่า เดินขึ้นเขาเป็นเรื่องปฏิบัติมากกว่าเดินเที่ยวชมเมืองเสียอีก มีคนถามบ่อยครั้งว่าเดินป่าขึ้นเขาได้อะไร ทรมานสังขาร เหนื่อย เหงื่อออก แดดก็ร้อน ผิวก็หมอง ผู้เขียนลองสังเกตดู ปกติระยะทางเดินป่าจะประมาณวันละสิบกว่ากิโลเมตร ไม่ต่างจากเราเดินชอปปิ้ง เที่ยวเล่นในเมือง หรือตามศูนย์การค้า ระยะการเดินทางใกล้เคียงกัน แน่นอนว่า การเดินป่า อาจจะต้องเตรียมพร้อมมากกว่าการเดินในเมือง ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหาร เสื้อผ้าที่จำเป็น ฯลฯ แต่คิดว่าได้อะไรต่างกันเยอะ
ดูท่าทางโลกจะไม่รอด 4
Posted on May 16, 2019 by vanchaitan
Leave a Comment
ข่าวใหญ่ที่สุดในรอบปี แต่ดูเหมือนกลายเป็นข่าวเล็ก ๆของสื่อไทย ข่าวชิ้นนี้กำลังบอกเราว่า การอยู่รอดของธรรมชาติและมนุษยชาติบนโลกสีน้ำเงินใบนี้กำลังริบหรี่ลงเรื่อย ๆ
Category: comment, natureTags: ป่าเขตร้อน, พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland), องค์การสหประชาชาติ, Intergovernmental Panel for Biodiversity and Ecosystem Services