คราฟท์เบียร์และความเหลื่อมล้ำ

เรื่อง วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

“พี่สนใจทำเบียร์กุหลาบไหม”

เพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่ง ผู้หลงใหลการทำ คราฟท์เบียร์ เอ่ยปากถามผู้เขียน  และฝันสักวันหนึ่งจะมีโอกาสผลิตคราฟท์เบียร์อย่างถูกต้องตามกฎหมายเมืองไทย

คราฟท์เบียร์ คือการผลิตเบียร์แบบโฮมเมดรายเล็กที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผู้ผลิตต้องใช้ฝีมือความคิดสร้างสรรค์ในการปรุงรสเบียร์ให้มีความหลากหลายของรสชาติ และที่สำคัญแต่งกลิ่นตามธรรมชาติ ห้ามใช้สารเคมีมาแต่งกลิ่นเด็ดขาด

Continue reading คราฟท์เบียร์และความเหลื่อมล้ำ

จากแอร์โฮสเตสสู่นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้

ตลอดระยะเวลาร่วมสามสิบปี คุณเอื้อย พรรณประภา ตันติวิทยาพิทักษ์ ใช้ชีวิตอยู่บนท้องฟ้าและเดินทางไกลมากกว่าผู้คนจำนวนมาก ในฐานะพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือแอร์โฮสเตส

หากนับเป็นระยะทางของอาชีพนี้ คุณเอื้อยคงโบยบินไปทั่วโลกมาหลายล้านกิโลเมตร

จนกระทั่งเมื่อวัยห้าสิบเริ่มต้น เธอได้เลือกเส้นทางชีวิตแบบใหม่ ไม่เกี่ยวข้องกับอาชีพเดิมเลย คือนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้

Continue reading “จากแอร์โฮสเตสสู่นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้”

ทางม้าลาย กับความเหลื่อมล้ำ

เมื่อประมาณยี่สิบกว่าปีก่อน ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์เช่ารถขับไปตามท้องถนนในประเทศออสเตรเลีย

 ผ่านป่า ผ่านอุทยาน เขตเมือง เขตชนบท ตลอดระยะทางจะเห็นสองข้างทางมีป้ายจำกัดความเร็ว แตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ โดยเฉพาะเมื่อเข้าไปในสถานที่ชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน โรงพยาบาลจะเห็นป้ายบอกความเร็วปักอยู่ข้างถนนถี่มาก

จาก 60 ค่อย ๆเหลือ 40   30   กม.ต่อชม.  และสังเกตว่า รถทุกคันจะชะลอความเร็ว ไม่มีคันใดขับแซงขึ้นมา

Continue reading “ทางม้าลาย กับความเหลื่อมล้ำ”