ตำราแผนที่ภูมิศาสตร์ไทยเล่มแรกเมื่อร้อยปีก่อน

ไม่นานมานี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปค้นคว้าหาข้อมูลเก่าของโรงเรียนอัสสัมชัญ เพื่อจัดทำหนังสือสำคัญ  ในฐานะศิษย์เก่า จึงได้มีโอกาสเห็นภาพและเอกสารที่น่าสนใจมากมาย แต่ที่สะดุดตาคือ หนังสือขนาดใหญ่เล่มหนึ่งชื่อ

 Atlas-Geography of Siam. Atlas-Geographie du Siam. หน้าปกระบุว่า พิมพ์ครั้งแรกในปีค.ศ. 1925 เป็นภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส และมีชื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ เด่นหราอยู่กลางปก

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้พิมพ์เมืองไทย แต่พิมพ์ในประเทศฝรั่งเศส โดยสำนักพิมพ์ Imprimerie de Montligeon Orne France

คุณภาพการพิมพ์ดีมาก ปกแข็ง พิมพ์สี่สี กระดาษปอนด์ชนิดหนา

พวกเราสันนิษฐานว่า คงเป็นหนังสือตำราเรียนของเด็กนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญในสมัยนั้น แต่ไปพิมพ์ที่ประเทศฝรั่งเศส เพราะคุณภาพการพิมพ์เมืองไทยในเวลานั้นคงไม่ได้มาตรฐาน

และอีกสาเหตุคือ โรงเรียนอัสสัมชัญก่อตั้งโดยบาทหลวงและคณะภราดาจากประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปีค.ศ. 1885  จึงมีความสัมพันธ์และใกล้ชิดกับชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาสำรวจและเก็บข้อมูลพื้นฐานในเมืองไทยเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยล่าอาณานิคมก่อนหน้านั้น

เมื่อมีโอกาสได้พลิกอ่าน ต้องยอมรับว่า อาจจะเป็นหนังสือภูมิศาสตร์เล่มแรก ๆ ในเมืองไทย ที่ทำออกมาได้ละเอียดและงดงามมาก และเป็นพื้นฐานการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ในเวลาต่อมา

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเมืองไทยในสายตาคนฝรั่งเศสเมื่อเกือบร้อยปีก่อน

การแบ่งเขตการปกครอง

สยามแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล แต่ละมณฑลแบ่งเป็นจังหวัด แต่ละจังหวัดแบ่งเป็นตำบล

สยามมีทั้งหมด 18 มณฑล คือ

ปัตตานี  นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สุราษฎร์  ราชบุรี นครสวรรค์  พายัพ (เชียงใหม่)   มหาราษฎร์ (แพร่)  อุดร ร้อยเอ็ด อุบล นครราชสีมา ปราจีนบุรี  จันทบูรณ์  กรุงเทพฯ นครปฐม อยุธยา พิษณุโลก

ผลไม้ในสยาม

กล้วย ปลูกทุกภาคในเมืองไทย

น้อยหน่า  ปลูกได้หลายพื้นที่ แต่จากนครปฐมรสชาติอร่อยที่สุด

ทุเรียน  พบได้ในภาคกลางและภาคใต้ของสยาม

ฝรั่งและขนุน ปลูกได้ทุกพื้นที่

ลิ้นจี่ ปลูกได้ดีทางเหนือและภาคกลาง

มะม่วงปลูกได้ทั่วประเทศ แต่อุดมสมบูรณ์ทางภาคใต้

มังคุด ปลูกได้เฉพาะภาคใต้

ส้ม ปลูกได้ทุกภาค

มะพร้าว ปลูกตามชายฝั่ง

มะละกอ  ทุกแห่ง

มะปราง ละมุด มะตูม ขึ้นได้ดีในภาคใต้

ผลผลิตทางการเกษตร

ข้าว เป็นพืชสำคัญที่สุด ปลูกได้ดีในกรุงเทพฯ ,ปราจีนบุรี,นครราชสีมา ,ราชบุรีและจันทบูรณ์

ยาสูบ ปลูกในเชียงใหม่, ราชบุรี,อุดร และพิษณุโลก

ฝ้าย นิยมปลูกทางภาคเหนือ

อ้อย  นิยมปลูกในปราจีนบุรีและจันทบูรณ์

พริกไทย ปลูกในภูเก็ต จันทบูรณ์และนครศรีธรรมราช

หมากและใบพลู นิยมปลูกทางภาคใต้

งานิยมปลูกใน อยุธยาและนครราชสีมา

ต้นหม่อม นิยมปลูกไว้เลี้ยงไหม มีทุกภาค

สัตว์ในสยาม

ไม่ได้มีรายละเอียดเขียนไว้ และรวมสัตว์เลี้ยงกับสัตว์ป่าไว้ในแผนที่เดียวกัน

หากดูในแผนที่ จะเห็นสัตว์เลี้ยงไว้ใช้งานสำคัญคือ ช้าง วัว ควาย  ม้า

และเห็นการกระจายพันธุ์ของสัตว์ป่าเมื่อร้อยปีก่อน อาทิ สัตว์ตระกูลเสือมีอยู่ทั่วประเทศ

ลิง ค่าง ชะนี เลียงผา สมเสร็จ นกนานาชนิด และที่สำคัญคือ แรด ซึ่งสูญพันธุ์ไปจากสยามประเทศแล้ว

ลุ่มน้ำสำคัญ

ลุ่มน้ำ หรือพื้นที่ระหว่างสองฟากฝั่งแม่น้ำ อันเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรสำคัญ

ลุ่มน้ำสำคัญคือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา  ลุ่มน้ำบางปะกง  ลุ่มน้ำมูน  และลุ่มน้ำแม่กลอง

ภูมิอากาศในสยามประเทศ

สยามตั้งอยู่ในเขตร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำ

แบ่งเป็นสามฤดูคือ ฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ยมากกว่า 30 องศาเซลเซียส

ฤดูฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ฝนตกหนักมากในเดือนกันยายน

ฤดูหนาว ตั้งแต่พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 28 องศาเซลเซียส  ปัจจุบันอุณหภูมิอยู่ที่ 28.1

ขณะที่ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 2,200-3,000 มิลลิเมตร เปรียบเทียบกับปัจจุบันประมาณ 1,700 มิลลิเมตร

จากข้อมูลนี้พอสรุปได้ว่า  อากาศเมืองไทยไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่ปริมาณน้ำฝนน้อยลงมากจนน่าตกใจ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s