National Trust เมื่อไรบ้านเราจะเกิดเสียที

unnamedใๆ

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้เขียนมีโอกาสไปประเทศอังกฤษ ได้เดินทางไปตามสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณสถานและเดินป่า ท่องทะเลหลายแห่งในเกาะอังกฤษ

ผู้เขียนสังเกตว่า สถานที่ พื้นที่ป่า ชายหาด หลายแห่ง มีป้ายเขียนว่า สถานที่เหล่านี้อยู่ภายใต้การดูแลของ National Trust

ตามความเข้าใจเดิม ๆ หากเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าเหล่านี้ น่าจะอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล

แต่ National Trust ไม่ใช่ของรัฐบาล

 

National Trust เป็นองค์กรเอกชน หรือ NGO ( Non-Government Organization) ขนาดใหญ่

ตั้งมาร้อยกว่าปี ตั้งแต่ปีค.ศ.1895 ในประเทศอังกฤษ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการปกป้องพื้นที่เก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

หรือมีความงดงามตามธรรมชาติ ไม่ให้เสื่อมทรามไปตามกาลเวลาหรือไม่ได้รับการดูแล

เป็น NGO ที่มีการออกพระราชบัญญัติรองรับในปี ค.ศ. 1905

 

ในอดีตนับพันปี พื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศอังกฤษล้วนมีคนครอบครอง หรือใช้ประโยชน์มานาน

ส่วนใหญ่หากไม่ใช่พื้นที่ของกษัตริย์ ก็เป็นที่ดินของชนชั้นศักดินา

บรรดาเจ้าชาย เจ้าหญิง ท่านลอร์ด ท่านเซอร์ ฯลฯ

แต่ละคนล้วนมีปราสาท พื้นที่ป่าส่วนตัวครอบครองกันนับร้อย นับพันเอเคอร์

 

เราจึงเห็นประเทศนี้มีปราสาท หรืออาคาร บ้านขนาดใหญ่หลายร้อยแห่งกระจายไปทั่วเกาะ

ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ป่าหรือที่ดินขนาดใหญ่

คำว่า LandLord ที่แปลว่า เจ้าที่ดิน คงจะมาจากลักษณะแบบนี้

 

ต่อมาพื้นที่เหล่านี้ได้ตกทอดเป็นมรดกของคนรุ่นต่อ ๆ มา

แต่บางคนอาจจะรักษาไว้ไม่ได้ เพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง

ปราสาทแต่ละแห่ง ยิ่งเก่าแก่ยิ่งต้องมีการบูรณะตลอด และการซ่อมแซมเป็นเรื่องที่ใช้เงินทองมากมาย

คนรุ่นหลังไม่มีเงินสดพอจะดูแลได้ทั่วถึง

แต่สิ่งสำคัญคือ ภาษีมรดกในประเทศอังกฤษสูงมาก ประมาณ40% ของมูลค่ามรดกที่ได้รับมา

 

ผู้คนจำนวนมากจึงเลือกวิธีบริจาคให้กับ National Trust ดูแล

เพื่อความยั่งยืนต่อไป มากกว่าจะเก็บไว้ดูแลเอง

 

National Trust ได้รับการบริจาคที่ดิน ปราสาท ป่า พื้นที่ชายหาดส่วนตัวจำนวนมาก

จนระยะหลัง ไม่สามารถรับบริจาคได้หมด ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่า บ้าน ปราสาท

พื้นที่ป่า ชายหาด ฯลฯ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพียงพอหรือไม่

 

ผู้เขียนเห็นที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งในเมือง CornWall ทางตอนใต้ของอังกฤษ

เป็นที่ทำการเล็ก ๆ แต่เป็นอาคารเก่าแก่ งดงามมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก

พอเข้าไปจึงรู้ว่า เป็นของ National Trust

 

ทางเดินเลียบชายหาดหลายแห่ง มีป้ายNGO แห่งนี้ติดไว้ บ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของ

ทำให้ที่ตรงนี้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่ประชาชนสามารถเดินเลียบชายหาดติดต่อกันได้หลายร้อยไมล์

ไม่ต้องมีปัญหาว่า ไปเดินผ่านที่ดินส่วนตัวของใคร

 

ทุกวันนี้องค์กรแห่งนี้มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าปราสาท บ้าน โรงงาน อาคารสวยงามเก่า ๆ

ยู่ภายใต้การดูแล ประมาณ 500 แห่ง

มีป่าธรรมชาติ 1,500,000ล้านไร่ และชายหาดยาว 960 กิโลเมตรทั่วประเทศ

ให้ผู้คนได้เข้าไปท่องเที่ยวอย่างเพลิดเพลิน ได้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ความงดงามตามธรรมชาติ

เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน  ไม่มีป้าย “เขตที่ดินส่วนตัวห้ามเข้า”

 

น่าสนใจว่า ป่าธรรมชาติหลายแห่งในประเทศนี้อยู่ภายใต้การดูแลของเอกชน ไม่ใช่ของรัฐบาล

National Trust อยู่ได้ด้วยการบริจาคของประชาชน และค่าสมาชิก

ทุกวันนี้มีสมาชิก 5.6 ล้านคน หรือประมาณ 10% ของประชากร

มีรายได้ปีละประมาณ 17,000 ล้านบาท

มากกว่าบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเสียอีก

 

มีคนทำงาน 12,000 คน และอาสาสมัคร 61,000 คน จากสาขาทุกอาชีพ

หมอ วิศวกร ชาวนา นายธนาคาร ศาสตราจารย์ ไปจนถึง แม่บ้าน ช่างซ่อมประปา ฯลฯ

หมุนเวียนมาเป็นอาสาสมัคร คอยทำสวน ตัดกิ่งไม้ พนักงานขายหนังสือในร้านขายของที่ระลึก

ไปจนถึงพนักงานทำความสะอาด

 

คนอังกฤษถือคติว่า การทำงานด้วยการใช้แรงานทำเพื่อส่วนรวมเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ

ถือเป็นพลเมืองดีของสังคม  เราจึงเห็นประเทศนี้มีอาสาสมัครหลายสิบล้านคนทั่วประเทศ

ใช้เวลาทำงานเพื่อสังคม

และคนอังกฤษเชื่อว่า

มรดกของชาติที่ตกทอดสืบกันมาหลายชั่วอายุคน จะยั่งยืนอยู่ได้ต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชน

ไม่ใช่ของรัฐบาลฝ่ายเดียว

หันกลับมาที่บ้านเรา

หากมี National Trust  อาจจะเป็นทางออกสำคัญ ในการดูแลสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ บ้าน อาคารเก่าแก่ของหลายคนที่ได้รับมรดกมา ค่อย ๆชำรุดทรุดโทรมไปเรื่อย ๆ เพราะขาดการดูแล

รวมไปถึงเจ้าของที่ดิน ที่อยากบริจาคที่ดินปลูกเป็นป่าผืนใหญ่ให้กับสังคม แต่ไม่อยากให้รัฐดูแล

หากเราเชื่อว่า

ประชาชนคือหัวใจสำคัญในการปกป้องสมบัติของชาติ มากกว่ารัฐบาล

69884721_10156582868292361_5401407208535621632_n

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s