เมื่อป่าคือที่ดินรกร้าง ต้องเสียภาษีที่ดินสูงสุด

 

cropped-img-5767.jpg

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 13 มี.ค.2562 จะเริ่มจัดเก็บรายได้เข้ารัฐตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป

อัตราภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างจะถูกจัดเก็บภาษีแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1 ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย

2 ที่ดินเพื่อการพาณิชย์

3 ที่ดินเพื่อการเกษตร ได้รับการยกเว้นสามปีแรก

4 ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

ภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าถือว่ามีอัตราสูงที่สุด คือจัดเก็บภาษี 0.3-3 เปอร์เซ็นต์ ของราคาประเมิน

และเพิ่มขึ้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ ทุก 3 ปี ต่อเนื่อง

เหตุผลที่ภาษีที่ดินรกร้างมีอัตราสูงมาก เพราะมีตัวเลขระบุว่า

คนกลุ่มน้อยที่มีที่ดินเกิน 100 ไร่ ขึ้นไปร้อยละ 70 มักจะปล่อยที่ดินให้ทิ้งรกร้าง

หรือใช้ประโยชน์ไม่ถึงครึ่งของพื้นที่ เป็นการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ

จึงต้องจัดเก็บภาษีสูง ๆ

และเจตนารมณ์ของกฎหมายจะต้องนำที่ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ สร้างบ้าน ตึก อาคาร โรงงานหรือทำการเกษตร สร้างเป็นรายได้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

แต่วิธีคิดแบบนี้ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบกับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความหวังดีต่อธรรมชาติ

ทุกวันนี้มีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้ปลูกป่าหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ wetland ในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยไม่หวังจะได้ประโยชน์อะไร นอกจากเพิ่มออกซิเจน ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับชาวโลก และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลา นก แมลง สัตว์นานาชนิด พรรณไม้พื้นถิ่นที่เคยหายไป หวังฟื้นฟูธรรมชาติที่เคยหายไปให้กลับคืนมา

แต่พื้นที่เหล่านี้ไม่เข้าเกณฑ์ใด ๆ ที่จะได้รับการยกเว้นไม่เสียภาษี

ซ้ำร้ายยังต้องเสียภาษีในราคาสูงสุด

หากจะเข้าข่ายพื้นที่เกษตร ก็ต้องปลูกพืชที่ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อาทิที่นา สวนผลไม้ หรือปลูกเป็นสวนป่า ซึ่งก็ต้องปลูกแบบเรียงแถว มีวิธีวัดชัดเจน อาทิ หากปลูกสวนกล้วย ต้องมีจำนวนกล้วยกี่ต้นในพื้นที่หนี่งไร่  หรือปลูกต้นสักก็มีจำนวนต้นกี่ต้นต่อพื้นที่หนึ่งไร่

แต่การปลูกป่าให้เป็นป่าจริง ๆ มีความหลากหลายของพืชพรรณไม้ตามสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น  ไม่ได้ปลูกเป็นสวนป่า หรือต้นไม้เรียงแถว

เมื่อยี่สิบปีก่อน ผู้เขียนปลูกต้นไม้ป่าหลายชนิดบนที่นาตัวเอง จนทุกวันนี้เป็นป่าย่อม ๆ กลางท้องนา

แต่ถูกระบุว่า เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า

เพื่อนอีกคนขุดที่นาเปลี่ยนเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่หลายบึง เพื่อทำเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือwetland ปลูกไม้น้ำนานาชนิด กลายเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ จนทุกวันนี้มีนาก หิ่งห้อยจากทุ่งนาแถวนั้น สัตว์ที่เคยหายไปกลับคืนมา

ผืนนาบริเวณนั้นกลายเป็นทุ่งน้ำเจิ่งนอง กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก

แต่พื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้ กลายเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่าตามกฎกติกาของกฎหมายฉบับนี้

เพื่อนอีกคนหนึ่ง ลงทุนซื้อที่นาร่วมร้อยไร่ เพื่อปรับปรุงให้เป็นทุ่งน้ำ เป็นที่พำนักของนกอพยพจำนวนมากที่บินข้ามทวีปหนีอากาศหนาวมาจากทางเหนือ

แต่ในสายตาของเจ้าหน้าที่คือพื้นที่รกร้างของนายทุน ที่กว้านซื้อทิ้งไว้รอเก็งกำไรขายต่อ

ป่าที่ผู้เขียนปลูกกลางท้องนา และพื้นที่ชุ่มน้ำที่เพื่อนหลายคนลงทุนขุดดินสร้างทุ่งน้ำขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่อยู่ของนก ปลา พรรณไม้นานาชนิด และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ

จึงไม่ได้อยู่ในเกณฑ์การใช้ที่ดินให้เป็นประโยชน์ตามเงื่อนไขของกฎหมายฉบับนี้ แต่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า

ต้องเสียภาษีที่ดินในเกณฑ์สูงมาก

เพื่อนอีกคนเล่าให้ฟังว่า

“มีชาวบ้านบางรายที่ต้องรื้อสวนป่าตัวเองมาปลูกพืชเศรษฐกิจด้วยกฏหมายเรื่องภาษีที่ดิน

รวมถึงเรื่องการขึ้นทะเบียนต้นไม้ก็เป็นไปในลักษณะที่ต้องปลูกไม้ชนิดเดียวกันในจำนวนต้นต่อไร่

ซึ่งหมายถึงการที่คนปลูกป่าแบบผสมผสานก็ต้องกลับไปสู่วังวนของพืชเชิงเดี่ยวอยู่ดี ถ้าจะต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกกฎหมาย

ซึ่งไม่เอื้อให้เกิดความหลากหลายในระบบนิเวศเลย ทั้งที่บทเรียนก็มีให้เห็นมาแล้วในรอบยี่สิบปีมานี้ ระหว่างแปลงที่ปลูกไม้ชนิดเดียวแล้วเติบโตขึ้นมาเป็นไม้จิ้มฟันพร้อมดินเสื่อม กับแปลงที่ปลูกหลากหลายไม้เติบโตสมบูรณ์พร้อมกับที่ระบบนิเวศฟื้นฟูตัวเองได้”

“ชาวบ้านทยอยรื้อป่าที่อยู่ตามหัวไร่ปลายนาออก เพราะเรื่องภาษี เราซื้อต้นไม้ป่ามาปลูกป่าสิบกว่าปี ถ้าเป็นแบบนี้คงสู้ภาษีไม่ไหว” เพื่อนอีกคนแจ้งข่าวมา

ขณะที่ในเมืองนอก ใครที่สร้างป่า สร้างพื้นที่ชุ่มน้ำ wetland นอกจากไม่ต้องเสียภาษีแล้ว ยังได้รับเงินช่วยเหลือจากทางการ เพราะถือว่าทำประโยชน์ให้กับสาธารณะ ทำให้ระบบนิเวศดีขึ้น

การนำที่ดินมาปลูกป่า ฟื้นฟูธรรมชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะอาจเป็นแนวคิดใหม่มากในสังคมไทย

จึงเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในสายตาของบรรดานักกฎหมายทั้งหลาย ที่มุ่งคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐกิจแบบด้านเดียว

แต่คนที่ห่วงใยธรรมชาติ ปลูกป่าให้คนรุ่นต่อไป สร้างระบบนิเวศให้กลับคืนมา กลับไม่ถือว่าคนเหล่านี้ได้ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

น่าคิดนะครับ สำหรับผู้ที่ออกแบบกฎหมายภาษีเหล่านี้

One thought on “เมื่อป่าคือที่ดินรกร้าง ต้องเสียภาษีที่ดินสูงสุด

  1. ต้องผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ให้มีการนิยามการทำสวนป่าขึ้นใหม่ น่าคิดว่าต้องระบุยังไงระหว่างพื้นที่เพื่อเป็นป่า กับพื้นที่รกร้างว่างเปล่า….หรือไม่ก็ต้องไม่มีคำว่ารกร้างว่างเปล่า พื้นที่ใดมีต้นไม้ที่มีคุณค่าก็ต้องถือว่าไม่รกร้างว่างเปล่า

    Like

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s